เตือนปั๊ม ! มีสต็อกน้ำมันแต่ไม่จำหน่าย โทษหนักจำคุก

เตือนปั๊ม ! มีสต็อกน้ำมันแต่ไม่จำหน่าย โทษหนักจำคุก

View icon 135
วันที่ 8 พ.ย. 2566 | 12.30 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
กระทรวงพลังงาน ย้ำ การปรับลดราคาน้ำมัน ไม่กระทบกำไรในส่วนผู้ประกอบการ จะนำมากล่าวอ้างปฏิเสธการจำหน่ายไม่ได้ หากพบมีสต็อกแต่ไม่จำหน่าย อาจเจอโทษจำคุก

จากกรณี คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงานเสนอปรับลดอัตราภาษีสินค้าน้ำมัน และผลิตภัณฑ์น้ำมันประเภทน้ำมันเบนซินลง ทำให้ราคาน้ำมันลดลง ซึ่งน้ำมันที่ราคาลดลงมากสุดคือ  น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ลดลง 2.50 บาทต่อลิตร โดยเริ่มมีผลตั้งแต่วานนี้  7 พ.ย.66 – 31 ม.ค. 67 หรือเป็นระยะเวลา 3 เดือน ทำให้ประชาชนพากันเข้าปั๊มเติมน้ำมันกันจำนวนมากเมื่อวานนี้

แต่ล่าสุดวันนี้  (8 พ.ย.) ในโลกโซเชียลได้มีการโพสต์ และ แจ้งว่า บางปั๊มน้ำมันได้ติดป้ายแจ้งน้ำมันหมด มีทั้งในพื้นที่ กทม. และ ต่างจังหวัด จนเกิดข้อสงสัยว่า น้ำหมดจริงหรือไม่ อยากให้มีการตรวจสอบ

คลิกอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : เพจดังเผยปั๊มน้ำมัน พร้อมใจขึ้นป้ายน้ำมันหมด หลังรัฐประกาศลดราคา

ด้าน นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ โฆษกรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานชี้แจงว่า เมื่อราคาน้ำมันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ทำให้มีเรื่องร้องเรียนเข้ามามาก ว่าเกิดสินค้าน้ำมันหมดในหลายปั๊มทั่วประเทศ เกิดเป็นประเด็นคำถามกับผู้ใช้น้ำมัน ว่าเกิดจากหมดจริง หรือหมดเพราะเกิดการกักตุนสินค้า

เท่าที่เช็ค สถานีบริการหลายแห่งมีผู้ใช้จำนวนมากมาเติม ทำให้น้ำมันหมดจริง และหลายแห่งติดป้ายน้ำมันหมดตั้งแต่เช้า ทำให้มีข้อสงสัยว่าอาจเป็นพฤติกรรมการกักตุนน้ำมัน เฉพาะแค่บางชนิดที่ลดราคาเยอะ อย่างโซฮอล์ 91

กระทรวงพลังงานไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้มีการเข้าตรวจสอบหลายสถานีที่มีเรื่องร้องเรียน เพราะประชาชนผู้ใช้น้ำมันได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย

ท่านสามารถแจ้งกรมธุรกิจพลังงาน (0-2794-4555) หรือ กองตรวจราชการ กระทรวงพลังงาน (02-1406080) เพื่อเข้าไปตรวจสอบปั๊มที่เกิดเหตุ โดยแจ้งรายละเอียดชื่อสถานีบริการ และสถานที่ตั้ง เพื่อประสานกับ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ที่มีกฎหมายเฉพาะดูแล ซึ่งผู้ประกอบการที่ปฏิเสธการจำหน่ายในขณะที่น้ำมันยังมีในสต็อค จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

โฆษกเรียนย้ำว่า การปรับลดราคาน้ำมันแบบนี้เป็นการชดเชยจากภาครัฐ  ไม่ได้กระทบกำไรในส่วนผู้ประกอบการ จะนำมากล่าวอ้างปฏิเสธการจำหน่ายไม่ได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง