มารู้จัก “อิกัวนาเขียว” กันเถอะ หลังแพร่พันธุ์ในเพชรบุรีและลพบุรี

มารู้จัก “อิกัวนาเขียว” กันเถอะ หลังแพร่พันธุ์ในเพชรบุรีและลพบุรี

View icon 97
วันที่ 16 พ.ย. 2566 | 16.47 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
วันนี้ (16 พ.ย. 66) จากกรณีที่ “อิกัวนาเขียว” ซึ่งแพร่พันธุ์อยู่ในพื้นที่ชุมชน ภายใน อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี และ จ.ลพบุรี โดยฝูงอีกัวนาได้สร้างความเดือดร้อนรำคาญให้ผู้คนในชุมชน และเข้าไปกินพืชผลทางการเกษตรของชาวบ้านอีกด้วย โดยมีทั้งฝ่ายชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนจากฝูงอีกัวนา และฝ่ายที่รู้สึกเฉย  ๆ กับฝูงอีกัวน่า โดยวันนี้เรามาทำความรู้จักกับ เจ้า “อีกัวนาเขียว” กันดีกว่า

“อีกัวนาเขียว” มีอวัยวะที่โดดเด่นคือ เหนี่ยงที่แป็นแผ่นหนังกลมขนาดใหญ่ที่ห้อยอยู่ใต้คาง แผงหนามที่มีตั้งแต่คอ กลางหลังเรียงตัวต่อเนื่องไปจนถึงหาง ที่แก้มจะเป็นเกล็ดแผ่นวงกลมขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “subtympanic shield” และมีช่องหูที่อยู่ในแนวหลังตาแต่ละข้าง มีหางยาว ซึ่งจะเป็นอวัยวะที่ช่วยฟาดในการป้องกันตัวจากสัตว์ผู้ล่า และหางสามารถสะบัดบางส่วนให้หลุดได้เหมือนกับกิ้งก่าชนิดอื่น ๆ เพื่อหนี รวมทั้งมีคุณสมบัติงอกใหม่ได้ มีเกล็ดปกคลุมทั่วร่างกาย

โดยเกร็ดของอีกัวนาจะมีสีสันหลากหลาย ถึงแม้ว่าจะชื่อว่า “อีกัวนาเขียว” แต่สีเกล็ดยังมีปัจจัยที่ขึ้นอยู่กับอายุ โดยที่ช่วงวัยเด็กสีพื้นของเกล็ดเป็นสีเขียวและมีแถบขนาดใหญ่สีน้ำตาล ปัจจัยที่สร้างความผันแปรอีก คือ สภาพอารมณ์ สุขภาพ อันดับในกลุ่ม และอุณหภูมิของพื้นที่ที่ร่างกายอีกัวนาจะต้องปรับตัวถ้าอากาศหนาวเย็นสีเกล็ดจะออกคล้ำ ส่วนในช่วงอากาศร้อนสีเกล็ดจะลดความเข้มลง

“อีกัวนาเขียว” เป็นสัตว์ประจำถิ่นในป่าเขตร้อนของเม็กซิโก อเมริกากลาง อเมริกาใต้และหมู่เกาะแคริบเบียน โดยอีกัวนาเขียวมีอายุขัยประมาณ 20 ปี แต่ในการเลี้ยงกรงเลี้ยงอายุขัยจะน้อยกว่าในป่า เนื่องจากการดูแลที่ไม่เหมาะสม ถ้าหากดูแลอย่างถูกต้องอายุขัยในกรงเลี้ยงจะอยู่ในช่วง 10-20 ปี ซึ่งอีกัวนาเขียวออกลูกเป็นไข่ และในช่วงอายุวัยเจริญพันธุ์มีความยาวจากปลายปากถึงโคนหางอยู่ในช่วง 1.2 - 1.7 เมตร และความยาวหาง 30 - 42 เซนติเมตร น้ำหนักของอีกัวนาเพศผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย 4 กิโลกรัม
นอกจากนี้ การผสมพันธุ์ของ “อีกัวนาเขียว” จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน และช่วงที่ลูกอีกัวนาเขียวออกจากไข่จะเป็นช่วงฤดูฝน โดยท่าทางการเกี้ยวพาราสีของเพศผู้จะทำท่าผงกหัว เหนี่ยงจะเหยียดและหดเข้า โดยในช่วงเวลา 3 วัน จะมีการวางไข่ที่อาจมากถึง 65 ฟอง ระยะฟักไข่ 90-120 วัน

ทั้งนี้ “อิกัวนาเขียว” จัดเป็นสัตว์ป่าควบคุมกลุ่มที่ 1 ของอนุสัญญาไซเตส ตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 โดยผู้ที่ครอบครองอีกัวนาเขียวไม่ผิดกฎหมาย แต่ต้องไม่ปล่อยสู่ธรรมชาติ ซึ่งการปล่อยอีกัวนามีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน และปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ

ขอบคุณข้อมูล: สวนสัตว์เปิดเขาเขียว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง