สรุปผล 7วันอันตราย เกิดอุบัติเหตุรวม 2,288 ครั้ง ผู้บาดเจ็บรวม 2,307 ราย ผู้เสียชีวิตรวม 284 ราย

สรุปผล 7วันอันตราย เกิดอุบัติเหตุรวม 2,288 ครั้ง ผู้บาดเจ็บรวม 2,307 ราย ผู้เสียชีวิตรวม 284 ราย

View icon 190
วันที่ 5 ม.ค. 2567 | 10.52 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
ศปถ. สรุปผลการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนปีใหม่ 67 หรือ 7วันอันตราย ตั้งแต่วันนี้ 29 ธ.ค. 66 – 4 ม.ค. 67  เกิดอุบัติเหตุรวม 2,288 ครั้ง ผู้บาดเจ็บรวม 2,307 ราย ผู้เสียชีวิตรวม 284 ราย

วันนี้ (5 ม.ค. 67) ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สรุปสถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2567 ประจำวันที่ 4 มกราคม 2567 เกิดอุบัติเหตุ 200 ครั้ง ผู้บาดเจ็บ 205 คน ผู้เสียชีวิต 17 ราย สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสมในช่วง 7 วันของการรณรงค์ (29 ธ.ค. 66 – 4 ม.ค. 67) เกิดอุบัติเหตุรวม 2,288 ครั้ง ผู้บาดเจ็บรวม 2,307 ราย ผู้เสียชีวิตรวม 284 ราย จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) มี 11 จังหวัด

ซึ่ง ศปถ. ได้ประสานจังหวัด องค์กร และหน่วยงานภาคีเครือข่าย ดำเนินงานเชิงรุกเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทั้งด้านคน พาหนะ ถนน และสภาพแวดล้อม ควบคู่กับการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องตลอดทั้งปี พร้อมถอดบทเรียนการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน เพื่อปรับปรุงและพัฒนามาตรการและการดำเนินงานสร้างการสัญจรที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน

สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด
ขับรถเร็ว ร้อยละ 48.5
ตัดหน้ากระชั้นชิด ร้อยละ 22
ทัศนวิสัยไม่ดี ร้อยละ 14

ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด
รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 88.72 ส่วนใหญ่เกิดบนเส้นทางตรง ร้อยละ 85 ถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 42.5 ถนนใน อบต./หมู่บ้านร้อยละ 30.5

ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 07.01-08.00 น. ร้อยละ 8
ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด อยู่ในช่วงอายุ 40-49 ปี ร้อยละ 15.77 จัดตั้งจุดตรวจหลัก 1,785 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 51,433 คน

จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ตาก (12 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ ตาก (15 คน) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ร้อยเอ็ดและสุพรรณบุรี (จังหวัดละ 3 ราย) สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสมในช่วง 7 วันของการรณรงค์ (29 ธ.ค. 66 – 4 มกราคม 67) เกิดอุบัติเหตุรวม 2,288 ครั้ง ผู้บาดเจ็บ รวม 2,307 คน ผู้เสียชีวิต รวม 284 ราย จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุดได้แก่ กาญจนบุรี (82 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ กาญจนบุรี (89 คน) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (19 ราย) จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) มี 11 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ กาฬสินธุ์ ชัยนาท ตาก นครนายก ปัตตานี พิจิตร แม่ฮ่องสอน สตูล สมุทรสงคราม อำนาจเจริญ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง