บริษัทของเยอรมนีใช้น้ำเสียผลิตเบียร์

View icon 60
วันที่ 24 พ.ค. 2567 | 09.03 น.
รอบรั้วรอบโลก
แชร์
นอกจากการเปลี่ยนน้ำเสียมาเป็นน้ำสำหรับเพื่อใช้อุปโภคแล้ว ไปดูบริษัทของเยอรมนีกันว่าจะสามารถเปลี่ยนน้ำเสียเป็นอะไรได้บ้าง

ส่วนผสมหลัก 4 อย่างในการผลิตเบียร์ ได้แก่ มอลต์ ฮอปส์ ยีสต์ และน้ำ แต่บริษัทแห่งหนึ่งในเมืองไวส์เซินบวร์ก ของเยอรมนี ไม่เพียงแค่ใช้น้ำธรรมดาทั่วไป แต่ใช้น้ำเสียมาเป็นส่วนผสมของการผลิต และแน่นอนว่าน้ำเสียดังกล่าวได้ผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ด้วย 4 ขั้นตอน โดย 3 ขั้นตอนแรก คือขั้นตอนการบำบัดเชิงกล ทางชีวภาพ และเคมี ซึ่งในขั้นตอนการบำบัดเชิงกลประกอบด้วยโรงงานคัดกรอง ห้องเก็บกรวด และเครื่องฟอก ต่อด้วยขั้นตอนการบำบัดทางชีวภาพ ด้วยการใช้จุลินทรีย์หลายพันล้านตัว ช่วยเปลี่ยนสารที่ละลายในน้ำเสียให้เป็นของแข็งและตกตะกอน ก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนการบำบัดด้วยสารเคมีเพื่อกำจัดฟอสฟอรัสออกจากน้ำเสีย ส่วนขั้นตอน 4 เป็นการเติมโอโซนในน้ำ ซึ่งทั้ง 4 ขั้นตอนทำให้สามารถกำจัดสารตกค้างที่เกิดจากมนุษย์ออกจากน้ำได้มากถึง 80 เปอร์เซ็นต์

แม้ว่าจะผ่าน 4 ขั้นตอน แต่น้ำดังกล่าวยังไม่สามารถดื่มได้ ทำให้ต้องมีการบำบัดเพิ่มเติม ก่อนจะมีการเทคโนโลยีล้ำสมัย ทำให้การใช้น้ำเสียในการผลิตเบียร์ที่มีชื่อว่า "รียูส บริว" (Reuse Brew) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างประธานฝ่ายเทคโนโลยีโรงเบียร์และเครื่องดื่ม และประธานฝ่ายวิศวกรรมระบบน้ำ ของมหาวิทยาลัยเทคนิคมิวนิก

อย่างไรก็ตาม เบียร์ดังกล่าวยังไม่เปิดวางจำหน่ายทั่วไป แต่เป็นเพียงการทดลองและสาธิตให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาจัดการน้ำ เพื่อความยั่งยืน