อว.เดินหน้าสร้างกำลังคนรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

อว.เดินหน้าสร้างกำลังคนรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

View icon 205
วันที่ 17 มิ.ย. 2567 | 14.54 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
“ศุภมาส” ตั้งเป้า 5 ปี ไทยผลิตกำลังคนรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคตด้าน “เซมิคอนดักเตอร์ 80,000 คน ดูดนักลงทุนเข้าไทย / จัดทำหลักสูตรแซนด์บอกส์ เซมิคอนดักเตอร์ ทั้ง ป.ตรี - ป.โท 15 มหาวิทยาลัย ครั้งแรก !

วันนี้ (17 มิ.ย.67) น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว.โชว์วิสัยทัศน์ การสร้างกำลังคนรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต บนเวที  “เตรียมทัพกำลังคน สร้างอุตสาหกรรมอนาคต” IGNITE THAILAND : Future Workforce for Future Industry

ประกาศชัด 5 ปีข้างหน้า ตั้งเป้าผลิตกำลังคนด้านเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง 80,000 คน /ด้าน EV 150,000 คน /และด้าน AI 50,000 คน //โดยเริ่มดำเนินการผลิตกำลังคนรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคตไปแล้ว 6 โครงการ //มี 3 โครงการที่เป็น Quick Win เห็นผลในระยะสั้น ที่พัฒนาและเพิ่มทักษะ เช่น โครงการ STEM PLUS เป็นหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น สำหรับกำลังคนที่อยู่ในอุตสาหกรรม โดยให้บริษัทเอกชนที่ส่งบุคลากรมาเรียน สามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไปลดหย่อนภาษีได้ 250% //ซึ่งมีหลักสูตรด้านอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง 150 หลักสูตร //ด้าน EV 124 หลักสูตร //ด้าน AI 313 หลักสูตร ตั้งเป้าผลิตกำลังด้านเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง 12,500 คนต่อปี //ด้าน EV 24,000 คนต่อปี //และด้าน AI 8,000 คนต่อปี

โครงการ Coop+ หรือ สหกิจศึกษาพลัส เรียนไปด้วยฝึกงานไปด้วยในประเทศ ที่นำนักศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องกับเซมิคอนดักเตอร์มาพัฒนาทักษะเพิ่มเติมและฝึกงานกับภาคอุตสาหกรรม หลังจบการศึกษาแล้วยังสามารถทำงานกับบริษัทได้ทันที //ซึ่งตั้งเป้าผลิตกำลังคนด้านเซมิคอนดักเตอร์ 1,500 คนต่อปี / นำร่องแล้วกับ 8 บริษัทชั้นนำ //ขณะที่ด้าน EV และ AI ก็จะใช้รูปแบบเดียวกัน ตั้งเป้า EV 500 คนต่อปี และด้าน AI 500 คนต่อปี

นอกจากนี้ยังมี โครงการสหกิจศึกษาในต่างประเทศ เรียนไปด้วย ฝึกงานในต่างประเทศ เป็นการส่งนักศึกษาไปฝึกงานในมหาวิทยาลัยหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ 3 ด้านนี้ในต่างประเทศ //ปีนี้ เป็นปีแรก ที่นักศึกษาไทย 30 คน ไปร่วมฝึกงานกับบริษัทยักษ์ใหญ่ 6-9 เดือน

ส่วนแผนระยะกลางและยาว ที่จะเห็นผลภายใน 2-4 ปี น.ส.ศุภมาส ระบุว่า มีโครงการจัดทำหลักสูตรแซนด์บอกส์ เซมิคอนดักเตอร์ ทั้งระดับปริญญาตรีและโท โดย 15 มหาวิทยาลัย ครั้งแรกในไทย semiconductor engineering sandbox สอนร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย หรือบัณฑิตในสาขาที่เกี่ยวข้อง สามารถเรียนต่อยอดอีก 1-2 ปี และได้ปริญญา ซึ่งทำเสร็จเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา มีทั้งหมด 3 สาขา //คาดว่าจะผลิตกำลังคนได้ 1,300 คนต่อปี ด้าน EV จะเปิดสอนได้ในปีหน้า และด้าน AI ได้เปิดสอนแล้ว 2 หลักสูตรใน 6 มหาวิทยาลัยที่ ตั้งเป้าผลิตกำลังคนให้ได้ 1,000 คนต่อปี

นอกจากนี้ยังมีการจัดทำหลักสูตรเซมิคอนดักเตอร์ EV และ AI ร่วมกับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ ระดับปริญญาตรีและโท เป็นหลักสูตร International Program ตั้งเป้าผลิตกำลังคนไม่น้อยกว่า 200 คนต่อปี และจัดสรรทุน ระดับปริญญาเอก มีการติดต่อไว้หลายมหาวิทยาลัย ล่าสุด อิมพีเรียลคอลเลจลอนดอน ส่งนักเรียนทุน 25 คน ไปเรียนต่อในระดับปริญญาเอกด้านเซมิคอนดักเตอร์และจะดำเนินการในลักษณะเดียวกันในด้าน EV และด้าน AI

ขณะเดียวกันยังมีแผนการยกระดับแล็ป ในมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัย ให้เป็นศูนย์ฝึกอบรม (Training Centers) เพื่อรองรับการพัฒนากำลังคนด้านเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง EV และ AI ทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาค //ตั้งเป้าว่าภายใน 5 ปี จะมีจำนวน 10 แห่ง //ด้าน EV จำนวน 15 แห่ง //และด้าน AI จำนวน 9 แห่ง

ทั้งนี้ กระทรวง จะนำ 6 แนวทางนี้ไปขยายผลให้ครอบคลุม 8 อุตสาหกรรมใน IGNITE THAILAND //ซึ่งเริ่มดำเนินการแล้ว เช่น การจัดทำหลักสูตรแซนด์บอกส์ปัจจุบันมี 14 หลักสูตร เช่น ด้านการบิน เปิดสอนแล้ว 2 หลักสูตร // ด้านสุขภาพและการแพทย์ เปิดสอนแล้ว 4 หลักสูตร // พร้อมกันนี้ยังมีแผน จัดสรรทุนการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีในการผลิตคนใน 8 กลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวตามนโยบายนายกรัฐมนตรี ทั้งที่เป็นทุนภายใต้การกำกับของกระทรวง หรือร่วมกับหน่วยงานอื่น เช่น กยศ. ซึ่งมีการหารือการจัดสรรทุนของ กยศ. สำหรับนักศึกษาใน 8 กลุ่มอุตสาหกรรมนี้แล้ว

สำหรับ โอกาสของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ไทย แม้ว่าประเทศไทยไม่ได้ติดอันดับผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ของโลก แต่ถึงอย่างนั้นก็ต้องยอมรับว่าประเทศไทยมีโอกาสด้วยความพร้อมหลาย ๆ ด้านในการเป็นผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์เพื่อป้อนสู่ห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรม และฐานการผลิตให้กับบริษัทชั้นนำของโลก  ไม่ว่าจะเป็นสวนอุตสาหกรรม ที่มีศักยภาพด้านระบบจัดการน้ำและผลิตกระแสไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพ สามารถรองรับการผลิตระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างสวนอุตสาหกรรม 304 ที่มาพร้อมกับแนวคิดเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ หรือ Eco Industrial Town สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดและได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อม ISO 14001 

ความพร้อมด้านทรัพยากรแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนไทยที่ต้องการสร้างอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ไทย หรือนักลงทุนต่างชาติที่ต้องการขยายฐานการผลิต บอกเลยว่าหมดกังวลเรื่องแรงงานได้เลยหากเลือกประเทศไทย เพราะนอกจากจะมีแรงงานพร้อมเสริมทัพการผลิตกว่า 30 ล้านคน ครบทั้งแรงงานไร้ฝีมือ แรงงานกึ่งมีฝีมือ แรงงานฝีมือ และระดับผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนั้นทางภาครัฐเองก็ส่งเสริมพัฒนากำลังคนที่มีศักยภาพในระดับอุดมศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการลงทุนด้านเซมิคอนดักเตอร์ของผู้ประกอบการไทยและนักลงทุนต่างชาติในอนาคตอีกด้วย

สิทธิประโยชน์จากการลงทุน เพื่อส่งเสริมการลงทุนการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศไทย ทางรัฐบาลจึงได้กำหนดสิทธิประโยชน์ด้านภาษีให้กับผู้ลงทุน อย่างการขยายเวลายกเว้นภาษีให้กับบริษัทต้นน้ำซัพพลายเชนเซมิคอนดักเตอร์จาก 8 ปี เป็น 13 ปี ในขณะเดียวกันก็พยายามดึงนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนด้านเซมิคอนดักเตอร์ในไทย โดยการให้นักลงทุนสามารถเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง