พบสารโคเคนในตัวฉลามนอกชายฝั่งบราซิล

View icon 55
วันที่ 26 ก.ค. 2567 | 11.55 น.
รอบรั้วรอบโลก
แชร์
นักวิทยาศาสตร์ตรวจพบสารเสพติดโคเคนในตัวของฉลามจมูกแหลม บริเวณนอกชายฝั่งของบราซิล สถาบันวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยีและสุขภาพ ออสวัลโด ครูซ (Oswaldo Cruz) ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฉลามจมูกแหลม (Sharpnose shark) จำนวน 13 ตัวในช่วงเดือนกันยายน ปี 2564 ถึงเดือนสิงหาคม ปี 2566 พบข้อมูลที่น่าตกใจว่า ฉลามจมูกแหลมทั้งหมดที่ถูกพบนอกชายฝั่งนคร รีโอ เดจาเนโร ของบ ราซิล มีสารโคเคนที่บริเวณกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อของตับ ซึ่งข้อมูลนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์เพื่อสิ่งแวดล้อม เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
           
โดยนักวิทยาศาสตร์ ยังไม่แน่ใจว่า ฉลามจมูกแหลมสัมผัสกับสารโคเคนได้อย่างไร ซึ่งส่วนหนึ่ง อาจเป็นเพราะแก๊งค้ายาเสพติดทำโคเคนตกหล่นลงทะเล และฉลามจมูกแหลมไปกัดแทะหีบห่อสารโคเคนก็เป็นได้ ซึ่งนี่เป็นครั้งแรก ที่มีการพบสารโคเคนในตัวของฉลาม และยังไม่ทราบว่า สารโคเคนจะส่งผลต่อฉลามอย่างไรบ้าง แต่การศึกษาหลายครั้งก่อนหน้านี้ พบว่า สิ่งมีชีวิตใต้ทะเลจำพวกปลา สามารถติดสารเมธแอมเฟตามีนได้
            
นาง ราเชล แอน เฮาเซอร์-เดวิส นักชีววิทยาประจำห้องแล็บ เพื่อการสนับสนุนและประเมินผลด้านสิ่งแวดล้อมประจำสถาบัน ออสวัลโด ครูซ บอกว่า ฉลามเป็นสัตว์นักล่า และเป็นแกนกลางสำคัญในห่วงโซ่อาหาร ทำให้การพบสารโคเคนในตัวฉลามครั้งนี้ ถือเป็นภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อมต่อมนุษย์ด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง