ดร.เสรี เตือน 26-27 ส.ค.นี้ เฝ้าระวังดินถล่มใต้ฝั่งอันดามัน

ดร.เสรี เตือน 26-27 ส.ค.นี้ เฝ้าระวังดินถล่มใต้ฝั่งอันดามัน

View icon 163
วันที่ 25 ส.ค. 2567 | 14.39 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
ดร.เสรี เตือน 26-27 ส.ค.นี้ เฝ้าระวังน้ำป่าหลาก ดินถล่มภาคใต้ฝั่งอันดามัน โดยเฉพาะภูเก็ต อ.กะรน ดินถล่มอาจซ้ำเติมได้ ชาวบ้านในพื้นที่เฉดสีฟ้า สีม่วง ควรระวัง

ดินถล่มภูเก็ต วันนี้ (25 ส.ค.67) ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ประธานกรรมการบริหาร Futuretales LAB, MQDC ผู้เชี่ยวชาญสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ ให้ข้อมูลผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า ในช่วงวันที่ 26-27 ส.ค.67 ขอให้เฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลาก ดินถล่มบริเวณพื้นที่จังหวัดฝั่งอันดามัน (ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง) โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ที่เพิ่งเคยเกิดเหตุการณ์น้ำป่าไหลหลากมาหลายครั้ง เช่น วันที่ 30 มิ.ย. และแผ่นดินถล่มเมื่อวันที่ 23 ส.ค.67 ที่ผ่านมา สร้างความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สิน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 13 คน หน่วยงานท้องถิ่นจึงต้องเฝ้าระวังด้วย

66cae1a54a22d9.72912576.jpg

66cae1a5d21d13.37512142.jpg

รศ.ดร.เสรี ระบุด้วยว่า ตนและทีมงาน ESRI ได้ร่วมประเมินความเสี่ยง ความรุนแรง พร้อมหาแนวทางในการป้องกัน และลดผลกระทบจากเหตุการณ์ พบว่ามีมากกว่า 70 % ขอยกตัวอย่างบริเวณ 3 พื้นที่ (เทศบาลเมืองกระทู้ เทศบาลศรีสุนทร และ อบต.กมลา) โดยแบบจำลองคณิตศาสตร์รายละเอียดสูง ตามรูปแนบ จึงขอให้ประชาชนที่อยู่ตามแนวเฉดสีฟ้า และสีม่วง ควรเฝ้าระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ดังกล่าวด้วย ส่วนพื้นที่เสี่ยงอื่น ๆ โดยเฉพาะที่กะรน แผ่นดินถล่มอาจจะซ้ำเติมได้ด้วยเช่นกัน

66cae1a58fa0b6.45895974.jpg

ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมภาคเหนือ จ.น่าน จ.เชียงราย และ จ. เพชรบูรณ์ ปริมาณฝนสะสมใกล้เคียงค่าเฉลี่ย (ยกเว้นน่าน และพะเยาที่ฝนตกหนักในเดือนสิงหาคม) การคาดการณ์ และเตือนภัยด้วยแบบจำลองรายละเอียดสูง ทำให้ทราบความเสี่ยง และความรุนแรงในระดับบ้าน อาคารแต่ละหลัง (บริเวณเฉดสีฟ้า) ประกอบกับโครงสร้างพื้นฐานเช่น ถนน คันดิน การถมที่ ทำให้ทราบว่าพฤติกรรมน้ำท่วมเปลี่ยนไป ดังนั้น การเกิดน้ำท่วมใหญ่าปริมาณน้ำจึงไม่จำเป็นต้องเท่ากับปริมาณปี 2554 แต่ระดับน้ำ และความรุนแรงอาจจะมากกว่าได้ เนื่องจากการบีบอัดลำน้ำ การป้องกันตนเองของพื้นที่ตอนบนโดยโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ดังนั้นการประเมินศักยภาพพื้นที่จึงมีความสำคัญ

สถานการณ์น้ำท่วมยังคงน่าเป็นห่วงโดยเฉพาะตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมยาวไปถึงเดือนพฤศจิกายน เนื่องจากการคาดการณ์จากแบบจำลองหลากหลายจะมีฝนตกหนัก และอิทธิพลจากพายุช่วงปลายฤดู ซึ่งคาดว่าจะยังคงเกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก 14-15 ลูก แต่มีโอกาสพัดผ่านประเทศไทย 1-2 ลูก ดังนั้นจึงต้องติดตามเส้นทางพายุ ช่วง 5 วันก่อนเข้า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง