อัปเดตสถานการณ์น้ำ “น่าน” เริ่มลดลง หลายพื้นที่เร่งทำความสะอาด หลายหน่วยงานเข้าบรรเทาทุกข์

อัปเดตสถานการณ์น้ำ “น่าน” เริ่มลดลง หลายพื้นที่เร่งทำความสะอาด หลายหน่วยงานเข้าบรรเทาทุกข์

View icon 102
วันที่ 26 ส.ค. 2567 | 08.15 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
“น่าน” เริ่มน้ำลดทุกหน่วยงานเร่งระดมทำความสะอาด สำรวจความเสียหาย และ เยียวยา

สรุปสถานการณ์อุทกภัย น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ในพื้นที่จังหวัดน่าน เป็นข้อมูล ณ วันที่ 25 ส.ค. 67

ความเสียหายด้านการดำรงชีพ จำนวน 12 อำเภอ 67 ตำบล 443 หมู่บ้าน ผู้ได้รับผลกระทบ จำนวน 22,442 ครัวเรือน 56,105 คน  มีผู้เสียชีวิต จำนวน 3 คน

สถานการณ์ปัจจุบันในพื้นที่อำเภอโซนเหนือและโซนกลาง สถานการณ์ได้คลี่คลาย ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง หน่วยงาน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ได้เร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย รวมถึงเร่งทำความสะอาดบ้านเรือนประชาชน ซ่อมแซมฟื้นฟูสิ่งสาธารณประโยชน์ และเร่งสำรวจความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบ
พื้นที่อำเภอโซนใต้ อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพื่อระบายน้ำในพื้นที่ท่วมขังซึ่งสถานการณ์น้ำท่าลดลงอย่างต่อเนื่อง ภาพรวมใกล้กลับเข้าสู่ภาวะปกติความเสียหายพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายทั้งสิ้น 10 อำเภอ 62 ตำบล 347 หมู่บ้าน เกษตรกร 6,831 ราย รวมประมาณการความเสียหายด้านพืชเบื้องต้น 23,346.25 ไร่ 41,904,744 บาท

สำหรับการให้ความช่วยเหลือด้านถุงยังชีพ รวมจำนวน 16,506 ชุด ดังนี้

(1) พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าอยู่หัว พระราชทานถุงยังชีพ 3,000 ชุด
(2) มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวน 5,000 ชุด
(3) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดสรรถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัย จำนวน 2,000 ชุด
(4) สำนักนายกรัฐมนตรี มอบถุงยังชีพ จำนวน 6,506 ชุด
การช่วยเหลือด้านอาหาร กำลังการผลิตอาหารแจกจ่าย จากภาคเอกชน 22,500 ชุดต่อวัน
(1) โรงครัวมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภา) ยามยาก จำนวน 3 จุด กำลังการผลิต จำนวน 6,0000 ชุดต่อวัน
(2) รถประกอบอาหาร มทบ.38 จำนวน 3 คัน กำลังการผลิต จำนวน 4,500 ชุดต่อวัน
(3) มูลนิธิกู้ภัยเพชรเกษม จำนวน 2 คัน กำลังการผลิต จำนวน 9,000 ชุดต่อวัน
(4) มูลนิธิร่วมกตัญญู จำนวน 1 คัน กำลังการผลิต จำนวน 2,000 ชุดต่อวัน
(5) มูลนิธิสว่างรวมใจ กำลังการผลิต จำนวน 1,000 ชุดต่อวัน
(6) การประกอบเลี้ยงโดย อปท./ภาคเอกชน จำนวน 33 จุด ได้แก่ อำเภอเมืองน่าน จำนวน 7 จุด/อำเภอเวียงสา จำนวน 7 จุด/อำเภอภูเพียง จำนวน 12 แห่ง/อำเภอท่าวังผา จำนวน 7 จุด

การช่วยเหลือด้านเครื่องจักรกลสาธารณภัย  มีดังนี้
(1) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนอากาศยานปีกหมุนในการสำรวจพื้นที่ประสบภัยพิบัติ เพื่อเป็นข้อมูลในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
(2) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มอบหมายศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 5 นครราชสีมา ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 10 ลำปาง ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 15 เชียงราย สนับสนุนเครื่องจักรกลสาธารณภัย พร้อมเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดน่าน ประกอบด้วย  รถบรรทุกพร้อมเรือยนต์เคลื่อนที่เร็ว จำนวน 1 ชุด  เรือท้องแบนกู้ภัย จำนวน 4 ลำ รถปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย จำนวน 8 คัน รถบรรทุกน้ำอเนกประสงค์ ขนาด 12,000 ลิตร จำนวน 1 คัน รถสูบส่งน้ำระยะไกล 3 คัน
รถยนต์ผลิตน้ำดื่ม 1 คัน
(3) มูลนิธิกู้ภัยเพชรเกษม  มูลนิธิร่วมกตัญญู มูลนิธิสว่างรวมใจ ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมโดยนำทรัพยากรเข้าช่วยเหลือประชาชน ดังนี้ รถยนต์เคลื่อนที่เร็ว รถบรรทุก เรือท้องแบนพร้อมเครื่อง และ รถยนต์ประกอบอาหาร