3 – 9 ก.ย. มี 44 จังหวัดต้องระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

3 – 9 ก.ย. มี 44 จังหวัดต้องระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

View icon 233
วันที่ 2 ก.ย. 2567 | 14.35 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
ปภ. ประสาน 44 จังหวัด ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และกทม. เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง คลื่นลมแรง รวมถึงน้ำล้นอ่างเก็บน้ำและน้ำล้นตลิ่ง ในช่วงวันที่ 3 – 9 ก.ย.67

วันนี้  2 ก.ย.67) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประสานแจ้ง 44 จังหวัดในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และกทม. จัดเจ้าหน้าที่ติดตามปริมาณฝนและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมงช่วงวันที่ 3 – 9 ก.ย. 2567  สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ โดยเฉพาะถ้ำน้ำตก ถ้ำลอด หากมีความเสี่ยงเกิดสถานการณ์ภัย ให้ประกาศแจ้งเตือนและปิดกั้นพื้นที่ไม่ให้บุคคลใดเจ้าพื้นที่โดยเด็ดขาด บริเวณชายฝั่งทะเลนักท่องเที่ยวห้ามลงเล่นน้ำโดยเด็ดขาด นอกจากนี้ ขอให้เตรียมความพร้อมของเครื่องจักรกลสาธารณภัย รถปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่ชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ได้แก่

ภาคเหนือ 7 จังหวัด ได้แก่ จ.แม่ฮ่องสอน  อุตรดิตถ์ ตาก  สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุทัยธานี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ จ.เลย  หนองคาย บึงกาฬ อุบลราชธานี

ภาคกลาง 9 จังหวัด ได้แก่ จ.กาญจนบุรี ราชบุรี  นครนายก ปราจีนบุรี  ชลบุรี  ระยอง จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์

ภาคใต้ 9 จังหวัด ได้แก่ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ระนอง พังงา ภูเก็ต ตรัง สตูล

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมขัง คือ กรุงเทพมหานคร

พื้นที่เฝ้าระวังคลื่นลมแรง ภาคใต้ 6 จังหวัด ได้แก่ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต (ทุกอำเภอ) กระบี่ (อ.เมืองฯ คลองท่อม เกาะลันตา ตรัง  สตูล

พื้นที่เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 จังหวัดเชียงใหม่ พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ อุทัยธานี เลย หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู ขอนแก่น นครพนม มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี ตรัง และอ่างเก็บน้ำที่มีสถิติปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมากกว่าความจุเก็บกักที่มีความเสี่ยงน้ำล้นอ่างฯ และส่งผลกระทบให้น้ำท่วมบริเวณด้านท้ายน้ำ

พื้นที่เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ แม่น้ำยม (จ.พิษณุโลก อ.บางระกำ) แม่น้ำแควน้อย (จ.พิษณุโลก อ.นครไทย วัดโบสถ์) แม่น้ำจันทบุรี (จ.จันทบุรี อ.เมืองฯ มะขาม) แม่น้ำตราด (จ.ตราด อ.เมืองฯ เขาสมิง บ่อไร่) โดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยา จะมีน้ำหลากจากตอนบนของลุ่มน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามปริมาณน้ำหลากที่เพิ่มขึ้น โดยส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มขึ้นบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ คลองโผงเผง จ.อ่างทอง คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และแม่น้ำน้อย ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง