สำเร็จแล้ว ! กรมทะเลฯ ทดลองแปลงเสริมอาหารชดเชยหญ้าทะเล พะยูนเข้ามากินผักเกลี้ยงแปลง

สำเร็จแล้ว ! กรมทะเลฯ ทดลองแปลงเสริมอาหารชดเชยหญ้าทะเล พะยูนเข้ามากินผักเกลี้ยงแปลง

View icon 35
วันที่ 8 พ.ย. 2567 | 21.03 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
สำเร็จแล้ว ! กรมทะเลฯ ทดลองแปลงเสริมอาหารชดเชยหญ้าทะเล พะยูนเข้ามากินผักเกลี้ยงแปลง ทั้งสาหร่ายผมนาง, ผักกวางตุ้ง, ผักกาดขาว, ผักคะน้า, ผักบุ้ง เหลือเพียงผักตบชวาที่พะยูนไม่กิน

จากก่อนหน้านี้มีการวางแปลงทดลองเสริมอาหารชดเชยหญ้าทะเลสำหรับพะยูน ได้แก่ ผักกวางตุ้ง, ผักบุ้ง, ผักคะน้า, ผักกาดขาว, และสาหร่ายผมนาง ตั้งแต่วันที่ 2-8 พฤศจิกายน 2567 เพื่อช่วยพะยูนให้รอดชีวิต ท่ามกลางสถานการณ์หญ้าทะเล หรือแหล่งอาหารไม่เพียงพอ

วันนี้ (8 พ.ย.67) พบว่า พะยูนได้เข้ามากินหมดทุกชนิด และได้วางแปลงเสริมอาหารชดเชยหญ้าทะเลใหม่ เวลาประมาณ 07.30 - 09.00 น.หลังจากระหว่างรอน้ำขึ้น ซึ่งได้มีพะยูนชื่อว่า "หลังขาวใหญ่" ลงดำน้ำสำรวจ พบว่าพะยูนได้กินเสริมอาหารแปลงดังกล่าวประกอบด้วย สาหร่ายผมนาง, ผักกวางตุ้ง, ผักกาดขาว, ผักคะน้า, ผักบุ้ง จนหมด เหลือเพียงผักตบชวา ที่พะยูนไม่กิน

ทั้งนี้ จากการศึกษาแหล่งอาหารของพะยูน นอกจากหญ้าทะเล ยังพบว่าพะยูนมีการปรับเปลี่ยนแหล่งอาหาร โดยการไปกินสาหร่ายทะเล ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา พบองค์ประกอบของอาหารในกระเพาะพะยูนที่ตายมีสาหร่ายทะเลมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าพะยูนในพื้นที่ทะเลอันดามันมีการปรับตัวอยู่พอสมควร แต่อาจต้องยอมรับว่าสาหร่ายยังเป็นแค่การเสริมอาหารชดเชยหญ้าทะเล ไม่สามารถเป็นอาหารหลักแทนหญ้าทะเลได้

รายงานในต่างประเทศว่าพบสาหร่ายในมูลของพะยูน แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าพะยูนกินเข้าไปโดยบังเอิญหรือตั้งใจกิน สาหร่ายทะเลจึงอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะนำมาให้พะยูนในภาวะอาหารขาดแคลน แม้กระทั่งการให้ผักชนิดอื่นเสริมทดแทน เพราะองค์ประกอบและสารอาหารในพืชผักมีคุณสมบัติไม่ต่างจากหญ้าทะเลมากนัก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง