“ผู้นำมาเลเซีย” เปิดภาพพบ “ทักษิณ” แจงถกประเด็นวิกฤตเมียนมา สันติภาพชายแดนใต้

“ผู้นำมาเลเซีย” เปิดภาพพบ “ทักษิณ” แจงถกประเด็นวิกฤตเมียนมา สันติภาพชายแดนใต้

View icon 124
วันที่ 27 ธ.ค. 2567 | 15.22 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
“ทักษิณ-อันวาร์” พบกันแล้ว ถกประเด็นฟื้นฟูเศรษฐกิจ วิกฤตเมียนมา และ สันติภาพชายแดนใต้

วันนี้ (27ธ.ค.67) นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย โพสต์ภาพพร้อมข้อความ ระบุว่า ได้พบกับนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่ปรึกษาไม่เป็นทางการของมาเลเซีย ในการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนแล้ว พร้อมโพสต์ภาพคู่สุดชื่นมื่น

นายอันวาร์ เปิดเผยประเด็นที่มีการหารือร่วมกัน เช่น การฟื้นฟูเศรษฐกิจ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่  การส่งเสริมสันติภาพในชายแดนภาคใต้ของไทย และ การแก้ไขวิกฤตเมียนมา

โดยนายทักษิณ สัญญาว่าจะใช้ความสามารถ และ ความเชี่ยวชาญเฉพาะที่มี สร้างโอกาสอันล้ำค่า ให้แก่มาเลเซีย และ อาเซียน 

นอกจากนี้ ยังหารือเรื่องการส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยและมาเซียให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น   สอดคล้องกับวิสัยทัศน์การพัฒนาอย่างยั่งยืน และความสามัคคีในภูมิภาค ที่มาเลเซียดำเนินการร่วมกับ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

ทั้งนี้ ในการพบกันครั้งนี้ ไม่มีการเปิดเผยสถานที่ หรือ วันเวลาในการพบกัน แต่มีรายงานข่าวว่า พบกันตามนัดหมายเดิม คือ วันที่ 26 ธ.ค.ที่ผ่านมา และ ปรากฏภาพนายทักษิณ อยู่ที่เกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล และ จ.ภูเก็ตในช่วงเวลาดังกล่าว

ขณะที่ นายทักษิณ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมระบุว่า ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการเดินทางไปพบนายอันวา อิบาฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เมื่อวานนี้ในฐานะที่ปรึกษาประธานอาเซียน ว่า ถือเป็นเรื่องที่ดีที่ได้พูดคุยเรื่องสถานการณ์ในภาคใต้ เรื่องอาเซียนและเมียนมาร์ รวมถึงสถานการณ์ของโลก หลังจากที่โลกได้เปลี่ยนแปลงไป

โดยได้พูดคุยกันเยอะ โดยเฉพาะเศรษฐกิจประเทศไทย เพราะการจะสร้างให้อาเซียน เพราะตอนนี้อาเซียนต่างคนต่างอยู่จึงอยากให้อาเซียนมีความเข้มแข็ง รวมกันเป็นหนึ่งและเป็นพลังของ 700  ล้านคน ให้มีพลังมากกว่าเดิม ถ้าไม่เช่นนั้นจะเป็นพลังของประเทศไทยกว่า 70 กว่าล้านและมาเลเซีย 20 กว่าล้าน การจะทำให้รวมกันจะทำให้เป็นพลังรวมกันได้ก็ต่อเมื่อร่วมไม้ร่วมมือกัน เป็นนโยบายรวมของอาเซียน

นอกจากนี้ นายทักษิณ ยังกล่าวอีกว่า หลังกลับเข้ามาในประเทศไทยและใช้ชีวิตได้หนึ่งปีกว่า ว่า วันนี้เป็นห่วงเรื่องสื่อมวลชน เพราะหาสื่อไปขยายข่าวมากเกินไปจากเนื้อหาที่แท้จริงซึ่งการอธิบายข่าวเป็นเรื่องที่ดีแต่การขยายข่าวบางทีอาจทำให้เพราะหาสื่อไปขยายข้างมากเกินไปจากเนื้อหาที่แท้จริงซึ่งการอธิบายข่าวเป็นเรื่องที่ดีแต่การขยายข่าวบางทีอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด ซึ่งตนไม่อยากให้สื่อไปชี้นำซึ่งตนเองไม่อยากให้สื่อไปชี้นำสังคมด้วยอารมณ์หรือความรู้สึกของตนเอง อยากให้สื่อมวลชนอยู่กับความจริง อยู่กับหลักวิชาที่ถูกต้องมากกว่าจะอยู่ด้วยอารมณ์และความชอบไม่ชอบ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง