ผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศพ้อ ทรัมป์ จะอยู่อย่างไร หากไม่ช่วยเหลือ

View icon 52
วันที่ 27 มี.ค. 2568 | 17.03 น.
รอบรั้วรอบโลก
แชร์
ค่ายผู้ลี้ภัยกูตูปาลอง ในภูมิภาคชายฝั่ง ค็อกซ์ บาซาร์ ของบังกลาเทศ เป็นค่ายผู้ลี้ภัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีผู้ลี้ภัยในค่ายแห่งนี้กว่า 900,000 คน เกือบทั้งหมดเป็นชาวโรฮีนจา ทั้งหมดประทังชีวิตอยู่ได้ด้วยความช่วยเหลือจากองค์กรระหว่างประเทศเป็นหลัก เพราะไม่ได้รับอนุญาตให้หางานทำเองได้ นับตั้งแต่กองทัพเมียนมาใช้ความรุนแรงต่อชาวโรฮีนจา ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ จนต้องอพยพหนีตายเข้าไปพักพิงในบังกลาเทศ ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อปี 2560 ชีวิตพวกเขาก็ลำบากอยู่แล้ว

ถึงตอนนี้ประเมินว่า 2 แสนครอบครัวกำลังหวั่นวิตกหนักกว่าเดิมว่า ชีวิตของตนและครอบครัวจะอยู่รอดต่อไปได้อย่างไร ในเมื่อความช่วยเหลือต่าง ๆ มีแต่จะลดลงเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ เข้ามารับตำแหน่งเมื่อเดือนมกราคม ปี 2568 และสั่งตัดงบประมาณของสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ หรือยูเสด ลงถึง 90% เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่ง

เจ้าหน้าที่โครงการอาหารโลกของสหประชาชาติ (WFP) เผยว่า หากไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ 15 ล้านเหรียญสหรัฐ จะต้องลดอาหารลงครึ่งหนึ่งในเดือนเมษายนนี้ เท่ากับจากเดือนละ 12 เหรียญสหรัฐหรือประมาณ 400 บาท ซึ่งก็แทบไม่เพียงพออยู่แล้ว เหลือเพียงเดือนละ 6 เหรียญสหรัฐหรือประมาณ 200 บาท ผลที่จะตามมาจากความอดอยากคือภาวะทุพโภชนาการ และปัญหาอาชญากรรมในค่ายผู้ลี้ภัย เพราะลำพังความช่วยเหลือจากสหประชาชาติและประเทศอื่น ๆ ไม่เพียงพอที่จะต่อลมหายใจของพวกเขาได้อย่างแน่นอน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง