แผ่นดินไหว กรมทรัพยากรธรณี เผยอาฟเตอร์ช็อกอาจเกิดเป็นสัปดาห์ แต่จะมีขนาดลงลงเรื่อย ๆ ไม่หนักเท่าแผ่นดินไหวหลัก ย้อนมองรอยเลื่อนสะกายในเมียนมา แผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อปี 2473 ทำคนเสียชีวิตจำนวนมาก
หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว วันนี้ (28 มี.ค.68) นายพิชิต สมบัติมาก อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ชี้แจงว่าแผ่นดินไหวที่มีจุดศูนย์กลางในประเทศเมียนมาที่ส่งผลกระทบถึงประเทศไทยนั้น เกิดจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนสะกาย โดยบริเวณรอยเลื่อนสะกายเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ 1 ครั้ง เมื่อปี 2473 แผ่นดินไหวขนาด 7.3 ครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตกว่า 500 คน
นายวีระชาติ วิเวกวิน นักธรณีวิทยาชำนาญการพิเศษ ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว กรมทรัพยากรธรณี ชี้แจงว่า รอยเลื่อนสะกายพาดผ่านจากตอนกลางของประเทศเมียนมาลงไปถึงตอนใต้ของประเทศเมียนมา การรับรู้ถึงแรงสั่นไหวมาถึงประเทศไทย เป็นปัจจัยทางด้านธรณีวิทยา ทำให้ขยายคลื่นเผ่นดินไหว สอดคล้องกับความถี่ธรรมชาติของตึกสูง ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนที่อยู่บนอาคารสูงจะรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน
ส่วนแผ่นดินไหวตาม หรืออาฟเตอร์ช็อก ที่เกิดขึ้นจะมีขนาดน้อยลงไปเรื่อย ๆ ไม่แรงเท่ากับแผ่นดินไหวหลัก ดังนั้น จึงอยากให้ทุกคนสบายใจ เบื้องต้นน่าจะมีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ ยังมีโอกาสเกิดอาฟเตอร์ช็อกได้เป็นอีกสัปดาห์ แต่จะไม่มีขนาดรุนแรงเท่ากับเหตุแผ่นดินไหวหลัก
สำหรับสาเหตุที่ไม่มีการแจ้งเตือนแผ่นดินนั้น เนื่องจากศาสตร์ในด้านแผ่นดินไหวไม่สามารถทำนายได้ว่าจะเกิดขึ้นตอนไหน