คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงการก่อสร้างอาคาร สตง. เร่งทำงาน เก็บทุกรายละเอียด เพื่อไม่ให้ไม่เกิดความผิดพลาด

คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงการก่อสร้างอาคาร สตง. เร่งทำงาน เก็บทุกรายละเอียด เพื่อไม่ให้ไม่เกิดความผิดพลาด

View icon 97
วันที่ 3 พ.ค. 2568 | 10.19 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง แจงยิบขั้นตอนตรวจสอบตึกสตง.ถล่ม ย้ำผู้เชี่ยวชาญ 4 ด้านประสานข้อมูลเพื่อความแม่นยำ และน่าเชื่อถือ ตามกรอบเวลาไม่เกิน 2 เดือนจากนี้จะได้ความชัดเจนถึงสาเหตุอาคารถล่ม

วันนี้ (3 พ.ค.68) นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง ในฐานะประธานคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงการก่อสร้างอาคาร สตง. เปิดเผยว่าได้มีการคำนวณ และกำลังพิจารณารายละเอียดต่างๆซึ่งมีจำนวนมากอยู่ คู่ขนานกับกการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ซึ่งจะเป็นบทพิสูจน์ว่า อาคารสตง.ถล่มเกิดจากการออกแบบหรือไม่ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยได้ขอเวลาการพิสูจน์ต่อนายกรัฐมนตรีไว้ 90 วัน ซึ่งตามแผนมีอยู่ 4 สูตร ไปไทม์ไลน์ที่กำหนด ในระยะเวลา 90 วันนี้ ก็จะได้ผลว่าการออกแบบตามแบบทำให้อาคารพังหรือไม่ วิธีการคือสร้างแบบจำลองโดยนำแบบเข้าในคอมพิวเตอร์ และกำหนดคุณสมบัติของวัสดุเข้าไปในแบบจำลอง และให้แรงแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นจริงกระทำกับอาคาร จึงจะทำให้รู้ว่าอาคารสตง.นี้พังหรือไม่ ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการ และภายใน 90 วันก็จะสามารถพิสูจน์ได้  ขณะนี้ใช้เวลาดำเนินการไปแล้ว 1 เดือน และแบบจำลองนี้ทำโดย  5 หน่วยงาน แล้วมาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อให้เกิดความมั่นใจในแบบจำลอง และจะทำออกมาเป็นบทสรุป

“สิ่งที่ดูได้ทันที คือการคำนวณตามแบบที่มีการจ้างการก่อสร้างที่มีอยู่แล้ว  และ ที่มีการแก้ไขแบบ ว่าปัจจุบัน ที่อาคาร ก่อสร้างหลังนี้มีการออกแบบก่อสร้างคู่สัญญา และมีการแก้ไขแบบส่วนใดบ้าง ที่เกี่ยวกับโครงสร้าง เราจะมีการนำเข้าแบบจำลอง ซึ่งแบบจำลองชุดนี้ เหมือนกับนำอาคารจริง ก่อนที่จะมีการพังถล่ม และมีการรันโมเดลเข้าไปในระบบ”

อธิบดีกรมโยธาฯ ระบุ “แบบจำลองที่เราตรวจสอบดำเนินการเป็นมาตรฐานอยู่แล้ว แต่ต้องมีการสร้างแบบจำลองให้ครอบคลุมในหลายสถานะ ในรายละเอียดคงต้องให้ทางคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงไปพิจารณา การสอบสวนข้อเท็จจริงนั้นมีอยู่ 4 องค์ประกอบ องค์ประกอบแรกคือหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรง คือสภาวิศวกร วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย และศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ และมีสถาบันการศึกษาเข้ามาร่วมด้วย  สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยหรือ ปภ.และกทม. รวมไปถึงข้าราชการของกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่มีความรู้และการชำนาญการเรื่องนี้โดยมี วิศวกรใหญ่กรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นประธานกรรมการ สภาวิศวกรเป็นที่ปรึกษา โดยจะเห็นว่าองค์ประกอบของคณะทำงานชุดนี้ครอบคลุมผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ด้านนี้โดยตรง ตนเชื่อว่าเมื่อผลออกมา จะสร้างความชัดเจนให้กับ โครงการนี้ได้ ว่าสาเหตุของอาคารนี้ที่ถล่มเป็นเพราะอะไร”

ตอนนี้กำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งมีอยู่ 4 ลำดับ /ในลำดับแรกเสร็จเรียบร้อยแล้ว  มีการคีย์ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว พร้อมยอมรับว่ามีอยู่หลายขั้นตอนจึงต้องใช้เวลา และหลังจากเสร็จแล้วจะต้องมีการประชุมหารือเพราะเราต่างคนต่างทำ ป้องกัน Human error เพราะการคีย์ข้อมูลต้องใช้การคีย์โดยคน เพราะฉะนั้นหากต่างคนต่างคีย์ข้อมูลเข้าไป ต้องมีการเช็คกัน และต้องมีการคุยถึงหลักเกณฑ์ต่างๆว่าจะใช้หลักใด เพื่อให้เป็นฐานเดียวกัน ก่อนที่จะประมวลเป็นผลมา   และต้องดูว่าผลของแต่ละสถาบันออกมาในแนวทางเดียวกันหรือไม่ จึงออกมาเป็นผลสรุปของคณะกรรมการชุดนี้

อธิบดีกรมโยธาฯ กล่าวว่า ได้เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยว่า ต้องปรับปรุงกฎหมายกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ว่าจะมีการออกกฎหมายกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ร.บ.วิชาชีพวิศวกร และมาตรฐานของการก่อสร้างของพ.ร.บจัดซื้อจัดจ้าง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง