เตรียมเข้าสู่ฤดูฝน แชร์ 7 ไอเท็มช่วงหน้าฝน พกไว้อุ่นใจชัวร์
(13 พ.ค. 68) เตรียมเข้าสู่ฤดูฝน วันนี้มาแชร์ไอเท็มที่ควรพกติดตัวไว้ในช่วงฤดูฝน เรียกได้ว่าพกไม่อุ่นใจไม่เสีย ฝนเทลงมาตอนไหนเราพร้อมลุย
7 ไอเท็มช่วงหน้าฝน พกไว้อุ่นใจชัวร์ ได้แก่
1. ร่มกันฝน : สิ่งสำคัญช่วงฤดูฝน กันทั้งแดดกันทั้งฝน มีหลายแบบ หลายขนาดให้เราเลือกใช้ สามารถพกพาและใช้งานได้สะดวกค่ะ
2. เสื้อกันฝน : หนึ่งไอเท็มกันฝนสุดเบสิก และเป็นสิ่งสำคัญสำคัญผู้ขับรถจักรยานยนต์ที่ต้องลุยฝน เสื้อกันฝนติดกระเป๋าไว้เป็นอีกทางเลือก
3. รองเท้าเตะ / รองเท้ายาง หรือรองเท้าบูทกันน้ำ : เพื่อให้เหมาะกับการเดินได้สะดวกในพื้นที่เปียกฝน หรือน้ำท่วม และถ้าคุณมีรองเท้าผ้าใบคู่ใจฤดูฝนแบบนี้ควรเก็บไว้ก่อนเพราะอาจจะไม่เหมาะสมสำหรับการเปียกน้ำสักเท่าไหร่
4. กระเป๋ากันน้ำ : กระเป๋าพลาสติก, หนังPVC หรือกระเป๋าที่มีคุณสมบัติกันน้ำ เหมาะการเปียกฝน
5. ผ้าเช็ดหน้า / ทิชชู่เปียก : ไว้สำหรับเช็ดทำความสะอาด เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินโดนน้ำหรือคราบสกปรก
6. ถุงพลาสติก : หนึ่งสิ่งที่พกพาง่าย และไว้ใช้ป้องกันของใช้ต่าง ๆ จากฝนได้เสมอ
7. ยาลดไข้ : ช่วงฤดูฝนหลายคนตากฝน หรือแพ้อากาศ ทานยาดักไว้เพื่อป้องกัน/บรรเทาอาการเป็นหวัดได้ทันท่วงที
สำหรับปี 2568 นี้ กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูฝนในวันที่ (15 พ.ค.68) ตามเกณฑ์ทางอุตุนิยมวิทยา 3 องค์ประกอบ ได้แก่
1) ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่และต่อเนื่อง
2) ลมชั้นบนที่ระดับความสูงประมาณ 1.5 กิโลเมตร เปลี่ยนทิศทางเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้ และ
3) ลมชั้นบนที่ระดับความสูงประมาณ 10 กิโลเมตร เปลี่ยนทิศเป็นลมฝ่ายตะวันออก
ปริมาณฝนรวมปีนี้มากกว่าค่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 5 โดยเฉพาะช่วงต้นฤดูถึงเดือนกรกฎาคม ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนชุกกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 5–10 ส่วนช่วงครึ่งหลังของฤดู (สิงหาคม-ตุลาคม) ปริมาณฝนใกล้เคียงค่าเฉลี่ยปกติ ยกเว้นภาคใต้ฝั่งตะวันออก คาดว่าจะมีฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 10 ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกลางกรกฎาคม อาจเกิดฝนทิ้งช่วงในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน โดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทานที่ประสบปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก ขอให้ประชาชนวางแผนการใช้น้ำอย่างเหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบทางการเกษตร ขณะเดียวกัน ช่วงสิงหาคมถึงตุลาคม เป็นช่วงที่มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีความเสี่ยงต่อพายุหมุนเขตร้อน ที่อาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยปีนี้คาดว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยประมาณ 1–2 ลูก โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ