“เรืองไกร” ร้องสอบเพิ่มเติม รมว.ยธ.

“เรืองไกร” ร้องสอบเพิ่มเติม รมว.ยธ.

View icon 169
วันที่ 15 พ.ค. 2568 | 14.59 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
“เรืองไกร” ร้อง ป.ป.ช. สอบ “ทวี สอดส่อง” เพิ่มเติม หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ใน DSI

วันนี้ (15 พ.ค.68) นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ยื่นเรื่องขอให้ ป.ป.ช. ตรวจสอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพิ่มเติมว่ามีพฤติการณ์เข้าข่ายทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามความในมาตรา 234 (1) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 หรือไม่ แยกเป็นข้อ ๆ ดังนี้

             ข้อ 1. เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2568 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้เผยแพร่ข่าวที่ 13/2568 ในเรื่องที่ (3) โดยมีคำวินิจฉัย ในส่วนผู้ถูกร้องที่ 2 พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไว้ดังนี้

ผลการพิจารณา
              ศาลมีรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยอภิปรายแล้วเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำความเห็นและจัดส่งสำเนาเอกสารหลักฐานตามประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต่อไป
              สำหรับกรณีปรากฏข้อเท็จจริงตามคำร้องเพิ่มเติมของผู้ร้อง ฉบับลงวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๘ พร้อมเอกสารประกอบ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องทั้งสองหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัยถึงที่สุด ศาลมีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นว่า ผู้ถูกร้องที่ ๑ ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยังไม่ปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่ามีกรณีตามที่ถูกร้องที่จะสั่งให้ผู้ถูกร้องที่ ๑ หยุดปฏิบัติหน้าที่
              ส่วนผู้ถูกร้องที่ ๒ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่และอำนาจในการสั่งและปฏิบัติราชการในฐานะผู้บังคับบัญชาข้าราชการกระทรวงยุติธรรมอันรวมไปถึงกรมสอบสวนคดีพิเศษ ตามคำร้องเพิ่มเติมและเอกสารประกอบ ปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่า ผู้ถูกร้องที่ ๒ มีกรณีตามที่ถูกร้องจึงสั่งให้ผู้ถูกร้องที่ ๒ หยุดปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเฉพาะในฐานะผู้กำกับดูแลกรมสอบสวนคดีพิเศษและรองประธานกรรมการคดีพิเศษตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๒ วรรคสอง ตั้งแต่วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๘ จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย”

             ข้อ 2. จากข่าวที่ 13/2568 ข้างต้น ในส่วนของถูกร้องที่ ๒ ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมนั้น  ปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่า ผู้ถูกร้องที่ ๒ มีกรณีตามที่ถูกร้อง จึงสั่งให้ผู้ถูกร้องที่ ๒ หยุดปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเฉพาะในฐานะผู้กำกับดูแลกรมสอบสวนคดีพิเศษและรองประธานกรรมการคดีพิเศษตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๒ วรรคสอง ตั้งแต่วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๘ จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย

             ข้อ 3. กรณีจึงควรไปพิจารณาพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง (๒) ซึ่งบัญญัติว่า
             “มาตรา ๒๑  คดีพิเศษที่จะต้องดำเนินการสืบสวนและสอบสวนตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แกคดีความผิดทางอาญาดังต่อไปนี้
             (๑) ...               
             (๒) คดีความผิดทางอาญาอื่นนอกจาก (๑) ตามที่ กคพ. มีมติด้วยคะแนนเสียง ไม่น้อยกว่าสองในสามของกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่”

             ข้อ 4. ดังนั้น การที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ผู้ถูกร้องที่ ๒ หยุดปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเฉพาะในฐานะผู้กำกับดูแลกรมสอบสวนคดีพิเศษและรองประธานกรรมการคดีพิเศษตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๒ วรรคสอง ตั้งแต่วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๘ จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย นั้น จึงมีเหตุอันควรขอให้ ป.ป.ช. ตรวจสอบเพิ่มเติมจากคำร้องลงวันที่ 12 พ.ค. 2568 ต่อไป โดยเร็ว

             ข้อ 5. จากการพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีกรณีอันควรสงสัยว่า การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวอ้างอำนาจตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง (๒) มาใช้นั้น ก็อาจขัดต่อบัญชีท้ายมาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง (๑)  ที่ระบุความผิดใน (๑๖) คือ คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

             ข้อ 6. อีกทั้งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 มาตรา 77 (1) และวรรคสอง บัญญัติว่า

             “มาตรา ๗๗ ผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้เพื่อจูงใจให้ผู้อื่นสมัครเข้ารับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา  หรือถอนการสมัคร  หรือกระทำการใด ๆ  อันไม่ชอบด้วยกฎหมาย  ให้ผู้นั้นหมดสิทธิ ที่จะเลือกหรือได้รับเลือก  หรือเพื่อจงใจให้ผู้สมัครหรือผู้มีสิทธิเลือกลงคะแนนหรือไม่ลงคะแนนให้แก่ผู้ใด  ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี  หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ  และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนดยี่สิบปี
             (๑) จัด  ทำ  ให้  เสนอให้  สัญญาว่จะให้  หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สิน  หรือผลประโยชน์อื่นใด อันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด
             (๒) ... (๔)
             ความผิดตาม  (๑)  ให้ถือเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน  และให้คณะกรรมการมีอำนาจส่งเรื่องให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินดำเนินการ ตามหน้าที่และอำนาจได้” 

             ข้อ 7. ดังนั้น การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวอ้างใช้อำนาจตามตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง (๒) มาใช้แทนมาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง (๑) ประกอบบัญชีท้ายลำดับที่ 16 โดยยังไม่มีการส่งเรื่องจาก กกต. ไปให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินดำเนินการ ซึ่งอาจเข้าข่ายการข้ามขั้นตอนของกฎหมาย กรณี มีเหตุอันควรขอให้ ป.ป.ช. รีบดำเนินการตรวจสอบเพิ่มเติมต่อไป

             ข้อ 8. ทั้งนี้ ขอให้ ป.ป.ช. เรียกคำร้อง คำร้องเพิ่มเติม และเอกสารประกอบ จากประธานวุฒิสภา มาพิจารณาด้วย เนื่องจาก การดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 234 (1) เป็นกรณีที่จะต้องดำเนินการต่อไปตามมาตรา 235 ด้วยนั้น เป็นหน้าที่และอำนาจของ ป.ป.ช. ที่จะต้องดำเนินการ เพื่อส่งเรื่องให้ศาลฎีกาและ/หรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิจารณาวินิจฉัยต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง