สุราพื้นบ้าน บ่มกินเองได้ ขยายฐานผู้ประกอบการรายย่อย

สุราพื้นบ้าน บ่มกินเองได้ ขยายฐานผู้ประกอบการรายย่อย

View icon 189
วันที่ 4 มิ.ย. 2566 | 19.48 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
สุราพื้นบ้าน ขาดตลาดทันที หลัง พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ได้พูดถึงประเด็น “สุราก้าวหน้า ” มองอย่างนี้ก็เริ่มมีหวังสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยที่จะพัฒนาสินค้าเหล้าเบียร์แบบไทยไทยก้าวสู่ระดับอินเตอร์ วันนี้จึงจะพามาทำความเข้าใจ กฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการปลดล็อกสุราเสรี ก่อนที่อนาคตเราอาจได้สัมผัสกับ พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า อย่างจริงจัง

โดย กฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ. 2565 มีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2565 ซึ่งข้อดีของกฎกระทรวงฉบับแก้ไขใหม่นี้ ได้ปลดล็อกเงื่อนไขสำคัญ เพื่อเปิดทางให้ผู้ผลิตรายใหม่เข้าสู่ธุรกิจสุราง่ายขึ้น โดยการยกเลิกทุนจดทะเบียน และกำลังการผลิต รวมทั้งขอใบอนุญาตผลิตสุราที่ไม่ใช่การค้าได้

สำหรับการขออนุญาตในกรณีการค้า ซึ่งใบอนุญาตจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ใบอนุญาตการผลิตสุราแช่ และสุรากลั่นชุมชน ในส่วนของ ‘สุราแช่’ ได้แก่ น้ำตาลเมา อุ เบียร์  ไวน์ สปาร์กลิ้งไวน์ และสุราแช่พื้นเมือง หลังจากฎกระทรวงฉบับนี้มีผลบังคับใช้แล้ว คุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาตผลิตไม่จำเป็นต้องมีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท และไม่จำเป็นต้องมีกำลังการผลิตขั้นต่ำ แต่ผู้ขออนุญาตผลิตเบียร์ ยังต้องเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย มีผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 รวมถึงสินค้าและเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ต้องเป็นไปตามระเบียบของกรมโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และระเบียบของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ในส่วนของ “สุรากลั่นชุมชน" เช่น สุราขาว ได้ขยายเพิ่มโรงงานอุตสาหกรรมสุรากลั่นขนาดกลาง ที่ใช้เครื่องจักรไม่เกิน 50 แรงม้า หรือใช้คนงานน้อยกว่า 50 เข้ามา จากเดิมที่มีขนาดเครื่องจักรไม่เกิน 5 แรงม้า หรือใช้คนงานน้อยกว่า 7 คน หรือโรงงานขนาดเล็ก “ไซส์ S” ซึ่งจะช่วยให้การผลิตสุราชุมชนสามารถขยายตัวได้ โดยโรงอุตสาหกรรมผลิตสุรากลั่น ชนิดสุราพิเศษ เช่น วิสกี้ บรั่นดี และยิน ยังคงกำลังการผลิตขั้นต่ำ 30,000 ลิตรต่อวัน และโรงอุตสาหกรรมผลิตสุรากลั่นชนิดอื่นๆ เช่น  สุราขาว และองค์การสุรา กำลังการผลิตขั้นต่ำ 90,000 ลิตรต่อวัน โดยให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน

ส่วนกรณีที่ผลิตกินเองภายในครอบครัว ไม่ใช่เป็นการค้า ก็อนุญาตให้ทำได้ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
1. ต้องขออนุญาตกับกรมสรรพสามิต
2. กำลังการผลิตในครัวเรือนจะต้องไม่เกิน 200 ลิตรต่อปี
3. ต้องเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะไม่น้อยกว่าอายุ 20 ปีบริบูรณ์
4. สุรา เบียร์ สุราแช่อื่นๆ เมื่อผลิตแล้วจะต้องนำมาให้กรมสรรพสามิตตรวจสอบคุณภาพก่อน เพื่อป้องกันสารปนเปื้อนต่างๆ ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้

นอกจากนี้ การขออนุญาต ยังสามารถทำผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วย