ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน คืออะไร
ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน Sudden Cardiac Arrest คือภาวะที่หัวใจทำงานผิดปกติ จนไม่มีการบีบตัวหรือหยุดเต้นทันที โดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า เมื่อเกิภาวะนี้ จะไม่มีการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้การทำงานของอวัยวะผิดปกติ ซึ่งอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือการทำงานของสมอง เมื่อไม่มีเลือดมาเลี้ยงก็ทำให้หมดสติ การช่วยเหลือจึงจำเป็นต้องทำอย่างทันท่วงที
“ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน” VS “ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน”
ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) ต่างกับภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน (Heart Attack) ตรงที่กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction; AMI) หรือรู้จักกันว่า ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน (Heart Attack) เกิดจากการไหลของเลือดเพื่อเลี้ยงส่วนของหัวใจถูกรบกวนทำให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนตาย ซึ่งส่วนมากเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดโคโรนารีที่เลี้ยงหัวใจ โดยที่หัวใจอาจจะไม่ได้หยุดเต้นขณะเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายและเสียชีวิตได้ แต่จริงๆแล้ว ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน (Heart Attack) ก็คือสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิด ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) ได้ แต่ก็อาจเกิดจากภาวะอื่นๆ ได้อีกเหมือนกัน
เราพบ “ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน” ได้บ่อยแค่ไหน
ถึงแม้ว่าในประเทศไทยจะยังไม่มีการเก็บสถิติการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันที่ชัดเจน แต่จากข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามีการเกิดภาวะนี้มากถึงปีละ 300,000 – 400,000 ราย โดยจะพบมากในกลุ่มที่เป็นนักกีฬา
"สาเหตุ” ที่ทำให้หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน
ส่วนใหญ่แล้วการเกิดภาวะนี้ก็เนื่องมาจากการที่หัวใจเต้นผิดปกติ ที่เรียกว่า Ventricular Fibrillation ซึ่งในภาวะปกติ หัวใจจะผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นให้หัวใจบีบตัวเป็นจังหวะ เพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย แต่เมื่อหัวใจเต้นผิดปกติชนิด Ventricular Fibrillation กระแสไฟฟ้าที่ส่งออกจากหัวใจจะเร็วและไม่เป็นจังหวะ จนทำให้หัวใจไม่บีบตัวและเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงร่างกายได้ ผู้ป่วยจะหมดสติภายในไม่กี่วินาทีและเสียชีวิตได้ทันที แต่เราอาจให้ความช่วยเหลือได้โดยการช็อคด้วยกระแสไฟฟ้า (Electrical Shock) จากเครื่องมือที่เรียกว่า Defibrillator ซึ่งเมื่อก่อนเครื่องมือชนิดนี้มีใช้แต่เฉพาะในโรงพยาบาลหรือรถพยาบาลเท่านั้น แต่ในปัจจุบันเราอาจจะพบเครื่องมือชนิดนี้ที่สามารถใช้งานได้โดยทั่วไปที่เรียกว่า AEDs (Automatic External Defibrillators) ตามสถานที่ต่างๆ เช่น สนามบิน, โรงเรียน, สนามกีฬา หรือแม้แต่ห้างสรรพสินค้า
ใคร คือกลุ่มเสี่ยง
ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันมักจะเกิดในคนที่ดูปกติและไม่ทราบว่าเป็นโรคหัวใจมาก่อน ซึ่งความเป็นจริงแล้วเขาเหล่านั้นมักจะมีโรคหัวใจแฝงอยู่โดยที่ไม่รู้ตัว ซึ่งมีสาเหตุหลักๆ คือ
"ประเมินความเสี่ยง" ด้วยการทดสอบมีการตรวจหลายชนิดที่อาจจะประเมินความเสี่ยงได้ เช่น
การตรวจเลือด เช่น ระดับน้ำตาล, ไขมัน
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram) คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram) ซึ่งเป็นการตรวจที่สามารถวัด Ejection Fraction การติดตามการเต้นหัวใจ (Holter Monitoring) โดยใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กประมาณโทรศัพท์มือถือติดที่บริเวณหน้าอก
ซึ่งจะบันทึกการเต้นของหัวใจได้ตลอดเวลานานถึง 24-48 ชม. ป้องกันไว้ก่อนได้ ด้วยไลฟ์สไตล์ “Heart Healthy Life” พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ดีจะสามารถลดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน รวมทั้งโรคหัวใจได้ เริ่มตั้งแต่การกินอาหารสุขภาพ เช่นผัก, ผลไม้, พืชเมล็ดถั่ว, ปลา ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่นเดินเร็วประมาณ 30 นาทีให้ได้เกือบทุกๆวัน ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม ไม่สูบบุหรี่ และดูแลรักษาโรคประจำตัว โดยเฉพาะเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง
ถ้าเจอคน “หมดสติ” นี่คือสิ่งที่ควรทำ
สิ่งแรกที่ต้องทำคือตรวจดูผู้ป่วยหมดสติ โดยเรียกหรือเขย่าตัวดูว่ายังมีการตอบสนองหรือไม่ ถ้าไม่มีการตอบสนอง ให้สังเกตว่าผู้ป่วยมีอาการกระตุกหรือชักเกร็งบ้างหรือเปล่า หรือหายใจเฮือก หรือหยุดหายใจ ถ้ามีให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าผู้ป่วยอาจมีภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลัน หลังจากนั้นจากนั้นให้รีบโทรศัพท์แจ้งเพื่อขอความช่วยเหลือ จากโรงพยาบาลทันที และเริ่มการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานด้วยการนวดหัวใจ ซึ่งอาจจะยังไม่จำเป็นต้องเป่าปากร่วมด้วย เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้แล้ว หรือถ้าบริเวณนั้นมีเครื่อง Automated External Defibrillator หรือ AED ให้รีบนำเครื่องมาใช้ทันที
ขอบคุณข้อมูล : หมอเฉพาะทางบาทเดียว