กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ เปิดพื้นที่เสี่ยง น้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าหลาก-ดินถล่ม ถึง 21 กันยายน

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ เปิดพื้นที่เสี่ยง น้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าหลาก-ดินถล่ม ถึง 21 กันยายน

View icon 217
วันที่ 19 ก.ย. 2566 | 18.10 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
วันนี้ (19 ก.ย. 66) กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ หรือ กอนช. เปิดพิกัดจังหวัดเสี่ยงภัย น้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก- ดินโคลนถล่ม ถึง 21 กันยายน 2566

1. ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ

ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 18/2566 ลงวันที่ 15 กันยายน 2566 แจ้งเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 17 – 21 กันยายน 2566 พื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม ดังนี้

ภาคเหนือ

จังหวัดเชียงราย (อำเภอเทิง) จังหวัดพะเยา (อำเภอเมืองพะเยา) จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภออมก๋อย ฝาง และแม่อาย) จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน) จังหวัดตาก (อำเภอท่าสองยาง อุ้มผาง แม่สอด แม่ระมาด และพบพระ)

จังหวัดน่าน (อำเภอเมืองน่าน แม่จริม ปัว เฉลิมพระเกียรติ บ่อเกลือ ทุ่งช้าง ท่าวังผา เวียงสา และสองแคว) จังหวัดพิษณุโลก (อำเภอนครไทย) จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอหล่มสัก และหล่มเก่า)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จังหวัดเลย (อำเภอเมืองเลย วังสะพุง และภูหลวง) จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอหนองบัวแดง) จังหวัดอุดรธานี (อำเภอเมืองอุดรธานีบ้านดุง กุมภวาปี นายูง และหนองหาน) จังหวัดกาฬสินธุ์ (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ กุฉินารายณ์ สมเด็จ นามน ดอนจาน สามชัย และคำม่วง) จังหวัดร้อยเอ็ด (อำเภอเสลภูมิ) จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอเมืองอุบลราชธานี)

ภาคตะวันออก

จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี มะขาม ท่าใหม่ เขาคิชฌกูฏ ขลุง โป่งน้ำร้อน และแก่งหางแมว) จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด เขาสมิง แหลมงอบ บ่อไร่ เกาะช้าง และเกาะกูด) 

พื้นที่เสี่ยงน้ำล้นตลิ่งและท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ ริมแม่น้ำน่านและลำน้ำสาขา จังหวัดน่าน ลำน้ำแควน้อย จังหวัดพิษณุโลก ลำน้ำก่ำ จังหวัดนครพนม ลำเซบาย จังหวัดยโสธร แม่น้ำลำปาว อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ลำน้ำยัง อำเภอโพนทอง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

2. ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566

กรมโยธาธิการและผังเมือง ลงพื้นที่ติดตามโครงการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนน้ำตาล ระยะที่ 2 อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เพื่อตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยของคัน/ทำนบ/พนังกั้นน้ำ เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำหลากและปริมาณฝนตกชุกหนาแน่น ป้องกันความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน

ณ บริเวณพื้นที่โครงการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนน้ำตาล ระยะที่ 2 อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

3. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล จัดการสัมมนาเพื่อถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับจากโครงการศึกษาดูงาน ณ ต่างประเทศภายใต้โครงการศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างเครือข่ายด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลในต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลของประเทศไทย โดยมีหัวข้อการถ่ายทอดองค์ความรู้ ดังนี้ การศึกษาแลกเปลี่ยนแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำบาดาล เพื่อความยั่งยืน ณ ประเทศญี่ปุ่น การศึกษาแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ น้ำแบบบูรณาการ ณ สาธารณรัฐเกาหลี

การศึกษาแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านการบริหารจัดการน้ำบาดาลในภูมิภาคอาเซียน ณ สาธารณรัฐ สังคมนิยมเวียดนาม การศึกษาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนางานด้านการบริหารจัดการ และอนุรักษ์ฟื้นฟูน้ำบาดาล ณ สหราชอาณาจักร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง