กรมอุตุนิยมวิทยา เตือนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และ ฟ้าผ่าบางพื้นที่ 24-26 ก.พ.นี้

กรมอุตุนิยมวิทยา เตือนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และ ฟ้าผ่าบางพื้นที่ 24-26 ก.พ.นี้

View icon 1.1K
วันที่ 24 ก.พ. 2567 | 08.33 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
อากาศร้อนทั่วทุกภาค กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์อุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ภาคอีสาน 39 องศาเซลเซียส

พยากรณ์อากาศวันนี้ (24 ก.พ. 67) กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์บริเวณประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น  มีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และ ลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกัน และ ระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย

พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 24 – 26 ก.พ. 67 ประเทศไทยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน  ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และ ในช่วงวันที่ 24 - 25 ก.พ. 67 ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร 

วันที่ 27 ก.พ.- 1 มี.ค. 67 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหล้วในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ขณะเดียวกัน ลมตะวันออกกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ข้อควรระวัง
ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงและระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองที่อาจจะเกิดขึ้นตลอดช่วง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 24 - 26 ก.พ. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และ ลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ในระยะแรก โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง