สมาคมดาราศาสตร์ไทย แจง ลูกไฟ คืนนี้ เป็นขยะอวกาศ อย่างไรก็ตาม ช่วงกลางเดือนก.พ.-เม.ย.ของทุกปี เป็นช่วง "ฤดูลูกไฟ"
วันนี้ (8 มี.ค.67) สมาคมดาราศาสตร์ไทย โพสต์ข้อความ ระบุ
“เที่ยงคืนวันนี้ 9 มี.ค.67 (00:00-00:30 น.) หากมีลูกไฟสว่างไสวเคลื่อนไปช้าๆ จากฟ้าตะวันตกยังตะวันออก ให้สันนิษฐานเลยว่าเป็นขยะอวกาศจากสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) น้ำหนักครึ่งตัน”
นอกจากนี้ สมาคมดาราศาสตร์ไทย ยังอธิบาย กรณี หรือเรากำลังเข้าสู่ "ฤดูลูกไฟ" ว่า “นักดาราศาสตร์ ที่ศึกษาเกี่ยวกับสถิติของการเกิดลูกไฟพบว่า ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนเมษายนของทุกปี เป็นช่วงที่อัตราการพบเห็นลูกไฟในเวลาหัวค่ำสำหรับผู้สังเกตในซีกโลกเหนือเพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วงอื่นราวร้อยละ 10-30 เรียกช่วงดังกล่าวว่า "ฤดูลูกไฟ"
ไม่เพียงแต่ลูกไฟเท่านั้น อัตราการพบอุกกาบาตตกในซีกโลกเหนือก็เพิ่มขึ้นด้วยในช่วงเดียวกัน”
และจากสถิติ ดาวตกที่สว่างระดับลูกไฟมีคืนละกว่าร้อยดวงทั่วโลก ดังนั้น การที่พบลูกไฟสองครั้งในพื้นที่เดียวกันภายในเวลา 2 วัน ยังไม่ถือว่าผิดปกติ