พลายหูปลิ้น ป่าภูเขียวบาดเจ็บ หมอล็อต นำทีมช่วยเหลือแล้ว

พลายหูปลิ้น ป่าภูเขียวบาดเจ็บ หมอล็อต นำทีมช่วยเหลือแล้ว

View icon 58
วันที่ 29 มี.ค. 2567 | 10.55 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
"หมอล็อต" นำทีมสัตวแพทย์ ช่วยเหลือ "พลายหูปลิ้น" ช้าวป่าภูเขียวได้รับบาดเจ็บขาหลัง เป็นแผลลึก 3 นิ้ว เฝ้าติดตามอาการต่อเนื่อง

พลายหูปลิ้น วันนี้(29 มี.ค.2567) นสพ.ภัทรพล มณีอ่อน หรือ หมอล็อต หัวหน้ากลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยกับทีมข่าว Ch7HD News ถึงการเข้าช่วยเหลือ พลายหูปลิ้น  อายุ​ประมาณ 35 - 40 ปี มีอาการบาดเจ็บบริเวณขาหลังข้างขวา เดินลงน้ำหนักไม่ปกติ​ ในพื้นที่ป่าภูเขียว จ.ชัยภูมิ และออกหากินบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าผาผึ้ง​

โดย นสพ.ภัทรพล กล่าวว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้ เนื่องจากชาวบ้านที่นี่พบเห็นช้างตัวดังกล่าวบาดเจ็บ จึงเกิดความเป็นห่วง แจ้งให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบช่วยเหลือ ซึ่งจากการลงพื้นที่ช่วยเหลือพบว่า ช้างตัวนี้ ได้รับบาดเจ็บบริเวณด้านข้างของขา คล้ายเหยียบโดนของแหลม แผลลึกประมาณ 3 นิ้ว ทีมสัตวแพทย์เข้าทำการช่วยเหลือเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเป็นแผลตื้นอยู่ในชั้นผิวหนังจึงได้ทำการรักษาโดยการวางยาซึมช้าง ให้ยาปฏิชีวนะชนิดออกฤทธิ์ได้นาน 7 วัน ยาลดปวด ยาลดอักเสบ ยาถ่ายพยาธิและกำจัดปรสิตภายนอกร่างกาย วิตามินบำรุงเลือด วิตามินบำรุงกล้ามเนื้อ วัคซีนป้องกันบาดทะยัก ให้น้ำเกลือเข้าเส้นเลือดดำ  ทำการล้างแผล ใส่ยาฆ่าเชื้อบริเวณบาดแผลทั้งสองตำแหน่ง เมื่อทำการรักษาเสร็จแล้วจึงให้ยาแก้ฤทธิ์ยาซึม พบว่าช้างฟื้นจากยาซึมได้ปกติ และคอยตรวจประเมินอาการต่อเนื่องต่อไป

ช้างป่า

ขณะที่ก่อนหน้านี้ หมอล็อต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า หนึ่งในฉากทัศน์ ที่อาจเกิดขึ้นได้ กับเคสนี้ และผมต้องลงพื้นที่ คือช้างป่า ชื่อว่า พลายหูปลิ้น เจ็บขาหลังขวา เดินลงน้ำหนักไม่เต็มเท้า เดินวนนอกพื้นที่ ซึ่งชาวบ้านที่นี่น่ารัก แจ้งเจ้าหน้าที่ให้เข้าไปช่วยเหลือ

เรื่องของเรื่องก็คือ พลายหูปลิ้นเจ็บขา ที่อักเสบ บวม ติดเชื้อ มักชอบลงแช่น้ำเพื่อช่วยในการประคองตัว เพราะเดินแต่ละก้าวจะเจ็บปวดมาก การวางยาซึม ช้างจะทรงตัวลำบาก ก็อาจจะเดินลงน้ำ เพื่อช่วยประคองตัว ตรงนี้แหละที่ยาก จะทำอย่างไร ให้ช้างขึ้นจากน้ำ พอโดนยิงยาซึม จะไม่วิ่งหนีหมอลงน้ำ ถ้าเป็นเช่นนั้น หมอจะต้องลงน้ำด้วยไหม หรือมีวิธีอื่นใด กับฉากทัศน์นี้ ซึ่งตอบได้ทันทีว่ายังไม่รู้ ถึงต้องลงไปดูเอง

ในการทำงานกับช้างป่า สัตว์ป่า การคาดเดาฉากทัศน์ หรือ Scenario ว่าจะเกิดขึ้นรูปแบบใดบ้าง มันจะทำให้เราสามารถแก้ไข และจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ไม่ต้องร้อนรน

ช้างป่า

ช้างป่า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง