กองทัพเรือ สรุปสาเหตุเรือหลวงสุโขทัย อับปาง  อดีตผู้บังคับการเรือฯ น้อมรับโทษ ประกาศลาออก

กองทัพเรือ สรุปสาเหตุเรือหลวงสุโขทัย อับปาง อดีตผู้บังคับการเรือฯ น้อมรับโทษ ประกาศลาออก

View icon 405
วันที่ 9 เม.ย. 2567 | 17.51 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
สรุปสาเหตุ "เรือหลวงสุโขทัย" อับปาง เกิดจาก สภาพอากาศแปรปรวนฉับพลันรุนแรง น้ำเข้าเรือจำนวนมาก จนเรือไม่สามารถควบคุมได้ ขณะที่อดีตผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย น้อมรับโทษจากกองทัพ และหลังจากรับโทษ ขอลาออกจากกองทัพเรือ

วันนี้ (9 มี.ค. 67) กองทัพเรือ แถลงผลการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีเรือหลวงสุโขทัยอับปาง เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2565 ซึ่งขณะนั้นมีกำลังพลอยู่ทั้งหมด 105 นาย ส่งผลให้กำลังพลเสียชีวิต 24 นาย และสูญหายอีก 5 นาย

สำหรับการแถลงข่าววันนี้ นำโดย พลเอกอะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ  พร้อมด้วย นาวาโทพิชิตชัย เถื่อนนาดี อดีตผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย , พลเรือเอกชัยณรงค์ บุญรัตน์กรินทร์ คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด , พลเรือโทสุรศักดิ์ สิงขรวัฒน์ คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงทัพเรือภาค1 และพลตรีอภิรมย์ เงินบำรุงคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง

โดยพลเอกอะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ กล่าวแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิต 24 และผู้สูญหาย 5 กองทัพเรือพยายามค้นหาตั้งแต่ช่วงแรก ได้ดูแลครอบครัวผู้เสียชีวิตและสูญหายให้ได้รับการชดเชยทางการเงิน ได้รับยศสูงขึ้น รับบุตรหรือญาติ เข้ารับราชการ

กองทัพเรือ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง กรณีเรือหลวงสุโขทัยอับปาง ทั้งหมด 3 คณะ คือ คณะสอบสวนหาสาเหตุที่เรืออับปาง , คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงทัพเรือภาคที่ 1 และคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความผิดทางละเมิด

พลเอกอะดุง เผยอีกว่า กองทัพเรือมีความตั้งใจจะกู้เรือขึ้นมาทั้งลำ แต่การกู้เรือที่อับปาง ใต้พื้นทะเลในระดับความลึก 50 เมตร และกองทัพเรือ ต้องการให้นำขึ้นมาทั้งลำ โดยไม่มีการหักหรือเสียหายใดๆ และยังให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยของทีมกู้เรือ ไม่ต้องการให้มีการเสียชีวิตเกิดขึ้นอีก แม้แต่คนเดียว ทำให้มีข้อจำกัดในหลายเรื่องและไม่มีบริษัทใดเข้าเกณฑ์ผ่านเลย ประกอบกับในห้วงเวลาเดียวกันนั้น กองทัพเรือสหรัฐฯ มีหนังสือย้ำเกี่ยวกับเรื่องยุทธโธปกรณ์ที่ติดกับเรือหลวงสุโขทัย จึงหารือกับกองทัพเรือสหรัฐฯ และกองทัพเรือสหรัฐฯ จึงยินดีให้ความช่วยเหลือในการค้นหา โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

สำหรับการลงสำรวจเรือหลวงสุโขทัยครั้งล่าสุด ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีการบันทึกภาพเรือทุกจุดที่ต้องการ สำรวจห้องที่เกี่ยวกับการจมของเรือ ส่วนมือถือ ที่พบนั้น  ปรากฏว่าไม่มีซิมการ์ด จึงไม่มีข้อมูล และเครื่องบันทึกกล้องวงจรปิด หลังกู้ขึ้นมา ได้ส่งให้สำนักงานตำรวจชาติ ได้รับคำตอบว่าเครื่องเล่นไม่สามารถอ่านได้ เนื่องจากชำรุดมาก

อย่างไรก็ตาม เรือหลวงสุโขทัยขณะนี้ อยู่ในสถานะปลอดภัยใต้พื้นท้องทะเล กองทัพสหรัฐฯ เชื่อว่า การยกหรือย้ายเรือ มีความเสี่ยงสูงต่อการไม่สำเร็จ และมีความเสี่ยงต่อกำลังพล รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายสูง จึงไม่กู้เรือหลวงสุโขทัยขึ้นมาทั้งลำ

นอกจากนี้ มีการเปิดคลิปวิดีโอที่เผยให้เห็นว่า ในวันที่เกิดเหตุสภาพอากาศแปรปรวนฉับพลัน คลื่นลมรุนแรง สภาวะทะเลอยู่ระดับ 7 ส่งผลให้เรือโคลงมาก ควบคุมเรือได้ยากลำบาก ประกอบกับคืนเกิดเหตุ เป็นคืนเดือนมืด ท้องฟ้ามีเมฆมาก เป็นอุปสรรคต่อการมองเห็น มีอุปสรรคต่อการให้ความช่วยเหลือ และคลื่นลมที่รุนแรงในคืนนั้น ทำให้กำลังพลถูกน้ำพัดกระจายตัวออกไป ยากต่อการให้ความช่วยเหลือ และเป็นอุปสรรคในการเอาชีวิตรอดในทะเล ซึ่งในห้วงเดียวกันนั้น มีเรืออับปาง ทั้งหมด 7 ลำ ซึ่งลำที่ใหญ่ที่สุด คือ เรือสินค้า

ด้าน พลตรีอภิรมย์ เงินบำรุง คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง เผยว่า หลังจากที่เรือได้อับปาง กองทัพเรือดำน้ำสำรวจสภาพตัวเรือ 4 ครั้ง 3 ครั้งแรก ดำเนินการโดยกองทัพเรือเอง แต่ไม่สามารถเข้าไปในตัวเรือได้ เพราะอันตราย และครั้งที่ 4 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 เป็นการปฏิบัติการร่วมระหว่างกองทัพเรือไทย และกองทัพเรือสหรัฐ

ในการสำรวจครั้งที่ 4 มีวัตถุประสงค์หลัก คือ ค้นหาผู้สูญหาย ปลดวัตถุอันตราย สำรวจภายใน และภายนอกตัวเรือ เพื่อจะเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์สาเหตุการอับปาง

สำหรับกรณีน้ำเข้าเรือ มี 2 กรณี คือเข้าจากด้านล่าง และเข้าจากด้านบน หากเข้าด้านล่าง จะทำให้เรือจม แต่หากเข้าจากด้านบนจะทำให้เรือเอียง ซึ่ง กรณีเรือหลวงสุโขทัยเอียงแสดงว่านำเข้าจากด้านบนก่อน โดยเจ้าจากดาดฟ้าเข้าไปที่ห้องท้ายเรือ

จึงสรุป สาเหตุที่ทำให้เรือหลวงสุโขทัยอับปางดังนี้

1.เรือหลวงสุโขทัยมีร่องรอยการชำรุด เสียหาย

2.สภาพคลื่นลมที่มีความรุนแรงขึ้นอย่างฉับพลัน

3.เกิดความเสียหายในตำแหน่งที่ทำให้น้ำเข้าสู่ห้องที่อยู่เหนือแนวน้ำ และเหนือจุด เป็นเหตุให้เรือสูญเสียความสามารถในการทรงตัว จนเรืออยู่ในสภาวะเอียงเกินกว่า 30 องศา

4.เมื่อเรืออยู่ในสภาวะเอียงเกินกว่า 30 องศา น้ำทะเลก็สามารถเข้าไปในตัวเรือได้ตามช่องระบายอากาศ และประตูผนึกน้ำ เปิดออกจากการปะทะของคลื่น ปริมาณน้ำส่วนใหญ่ไหลเข้าไปอยู่ในห้องเครื่องจักร และภาคท้ายเรือเป็นหลัก จนเรือสูญเสียกำลังลอยและอับปางในที่สุด

5.เรือสูญเสียความสามารถในการทรงตัวตั้งแต่เวลา 15:00 น.จนจมลงในเวลาประมาณเที่ยงคืน รวมเวลาประมาณ 9 ชั่วโมง แสดงให้เห็นความสามารถในการผนึกน้ำของเรือทำได้ดีพอสมควร แต่ในกรณีที่น้ำเริ่มเข้าจากช่องทางบนดาดฟ้า เปิดการผนึกน้ำย่อมไม่สามารถกั้นน้ำเข้าได้ 100%

6.การป้องกันความเสียหายของเรือที่มีข้อจำกัดต่างๆทั้งการตรวจสอบสาเหตุที่น้ำเข้าเรือซึ่งไม่สามารถออกไปตรวจสอบนอกตัวเรือได้เนื่องจากคลื่นลมแรง เกิดการชำรุดของเครื่องจักรใหญ่เครื่องไฟฟ้าระบบปรับ ทิศใบจากเกิดไฟไหม้เกิดการลัดวงจรตามที่ต่างๆทำให้กำลังพลของแผนกช่างกลซึ่งมีหน้าที่หลักความเสียหายมีภาระงานมากเกินกว่าจะสามารถปฏิบัติได้ บ้านเกิดไฟดูดกำลังพลจนเรือต้องตัดกระแสไฟฟ้าบางส่วนทำให้เครื่องสูบน้ำใช้ไฟฟ้าหลายพื้นที่ใช้งานไม่ได้

ขณะที่ นาวาโทพิชิตชัย เถื่อนนาดี อดีตผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย เผยว่า หลังจากที่ตัดสินใจนำเรือกลับ ฐานทัพเรือสัตหีบ เกิดการแปรปรวนอย่างแรงฉับพลันของสภาพอากาศ ซึ่งเลวร้ายกว่าเดิม การตัดสินใจของตนเอง อาจเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่รอบคอบ จนส่งผลต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น ดังนั้นตนเองในฐานะผู้บังคับการเรือ จึงขอแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยการขอยอมรับโทษตามที่กองทัพเรือภาคที่ 1 ได้เสนอและตามที่ผู้บังคับบัญชาระดับสูงจะเห็นควรนอกจากนี้แล้ว หลังจากเรื่องทุกอย่างดำเนินการเสร็จสิ้น ตนเองขอแสดงเจตจำนงในการลาออกจากกองทัพเรือ ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดเป็นบ้านเกิดอันอบอุ่นของตนเองและเป็นการรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น รวมถุงเป็นการดำรงไว้ซึ่งเกียรติของตำแหน่งผู้บังคับเรือ

ขณะที่ไทม์ไลน์เหตุการณ์ การเดินเรือของ “เรือหลวงสุโขทัย” ก่อนอับปาง มีดังนี้

เวลา 04:00 น. คลื่นสูงประมาณ 4 เมตร ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็วประมาณ 28 นอต หรือ 50.4 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเรือมีอาการโคลงในลักษณะขึ้นลงอย่างรุนแรง

เวลา 04:30 น. ได้ตรวจพบประตูทางเข้าบริเวณหัวเรือกระซ้ายเปิดอยู่และสะบัดกระแทกจนเกิดเสียงดัง  กำลังพลประจำเรือจึงได้ปิดประตูจนแนบสนิทและหมุนพวงมือล็อกประตูเรียบร้อยพบมีน้ำสาดเข้ามา ในช่องระหว่างประตูชั้นนอกและประตูชั้นในทำให้พื้นระหว่างช่องประตูเปียกแต่ไม่มีน้ำนอง ในบริเวณดังกล่าวฝ

จนถึงเวลา 05:00 น. ประตูดังกล่าวเปิดกระแทกจนเกิดเสียงดังอีกเมื่อประตูเปิดแล้วไม่สามารถหมุนพวงมือล็อกปิดประตูได้จึงใช้เชือกมัดไว้ไม่ให้เปิดออกได้โดยมีน้ำไหลออกมาจากขอบประตูด้านล่างของห้อง  ซึ่งขอบประตูสูงจากพื้นประมาณ 20 เซนติเมตร ตรวจสอบภายในห้องพบว่ามีน้ำไหลออกมาจากท่ออากาศดีเป็นช่วงๆตามจังหวะของคลื่น

เวลาประมาณ 06:00 น. เรือเดินทางใกล้ถึงพื้นที่จอดทอดสมอบริเวณหาดทรายรีจังหวัดชุมพร  แต่ด้วยบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ทะเลเปิด ขณะนั้นสภาพขึ้นลมรุนแรงไม่มีเกาะบังคลื่นลมคลื่นสูงประมาณสี่ถึง 6 เมตร ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็วลม 28 ถึง 33 นอไม่สามารถนำเรือจอดทอดสมอได้

เวลา 06:30 น. เครื่องไฟฟ้าหมายเลขสามหยุดการทำงานแผนกช่างกลจึงเดินเครื่องไฟฟ้าหมายเลขหนึ่งทดแทน  ทั้งนี้ในการเดินเรือปกติจะสลักเดินเครื่องไฟฟ้าครั้งละหนึ่งเครื่อง

เวลาประมาณ 07:00 น. ผู้บังคับการเรือตัดสินใจนำเรือกลับขึ้นทางเหนือเรือถือเข็ม 0030 ทิศทางสวนคลื่นสวนลมและมีเสียงสัญญาณเตือนน้ำท่วมที่สะพานเดินเรือเตือนว่าน้ำท่วมพื้นห้องคลังลูกปืน 40 มิลลิเมตร

จากการตรวจสอบพบว่ามีน้ำไหลซึมออกมาขอบล่างของประตูห้องบรรจุลูกปืนหรือห้อง 76 มิลลิเมตร หลังเปิดประตูสำรวจมีน้ำไหลออกทางประตูจึงได้พยายามปิดต้านแรงดันน้ำจนปิดได้ กำลังพลช่วยกันต่อแถววิดน้ำเพื่อระบายน้ำออกทางดาดฟ้าเปิดบริเวณทางประตูข้างห้องพักนายทหารสัญญาบัตร

ตอบมาเวลาประมาณ 07:45 น.  ได้ติดต่อสอนชนจังหวัดชุมพรในการลำเลียงกำลังพลขึ้นฝั่ง แต่ได้รับแจ้งว่า เรือเล็กไม่สามารถออกมารับกำลังพลดังกล่าวได้ เนื่องจากคลื่นลมแรง

เวลาประมาณ 08:00 น. เรือหลวงสุโขทัยตกลงใจเดินทางกลับฐานทับเรือสัตหีบ เนื่องจากเรือไม่สามารถจอดทอดสมอได้ ระหว่างนั้นได้รับการประสานจากทัพเรือภาคที่ 1 ให้ส่งกำลังพลที่เดินทางร่วมไปกับเรือจำนวน 30 นายที่ท่าเรือประจวบ จึงได้ประสานท่าเรือประจวบเพื่อขอรับสนับสนุนการเข้าจอดเรือ และได้มีการประกาศผ่านระบบประกาศซ้ำให้กำลังพลดังกล่าวมารับเสื้อชูชีพ

เวลาประมาณ 08:15 น. พบน้ำบริเวณช่องทางเดินหน้าห้องศูนย์ยุทธการภายในห้องศูนย์ยุทธการและห้องวิทยุ  ความสูงประมาณข้อเท้าหรือประมาณ 5 เซนติเมตร

เวลาประมาณ 08:30 น. เกิดไฟฟ้าช็อตไม่หม้อแปลงไฟฟ้า 220 โวลต์สำหรับไฟประดับบริเวณหน้าห้องวิทยุ  หน่วยซ่อมได้ทำการดับไฟและตัดไฟ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง

เวลา 10:00 น. เรือหลวงสุโขทัยติดต่อกับท่าเรือประจวบเพื่อขอทราบข้อมูลประกอบการพิจารณาในการนำเรือเข้าจอดเทียบท่า เวลา 10:15 น. เกิดเหตุไฟไหม้เครื่องสำรองไฟไฟฟ้าหรือยูพีเอส สำหรับคอมคอมพิวเตอร์หรือระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมภายในห้องวิทยุเจ้าหน้าที่สามารถดับไฟได้ระบบสื่อสารภายในยังใช้งานได้แต่ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมใช้งานไม่ได้

เวลา 10:20 น.  ได้รับการประสานจากท่าเรือประจวบว่ามีคลื่นลมแรงมากไม่สามารถป้องกันคลื่นได้ปลอดภัยต่อการนำเรือเข้าเทียบท่า ทั้งนี้มีแผนเรือสินค้าจะขอเข้าเทียบจอดก็ไม่สามารถจอดได้

เวลา 12:00 น. ห้องบรรจุลูกปืน  ปืน 76 มิลลิเมตร ยังมีน้ำไหลเข้ามา คาดว่าน้ำเข้ามาจากฝาแฮส บริเวณท้ายป้อมปืน 76 มิลลิเมตร เรือหลวงสุโขทัยจึงเปลี่ยนเข็มเดินทางจากเข็ม 030 เป็นเข็ม 220 ให้คลื่นลมส่งท้าย เพื่อสามารถตรวจสอบฝาแฮสดังกล่าว พบว่าฝาแฮส เผยอออก จึงได้ขันเกรียวปิดให้สนิทแล้วมัดด้วยเชือกเพื่อป้องกันเกรียวหลุดออกอีก 15 นาทีต่อมาจากการประสานก่อนหน้านี้ทราบว่าทางท่าเรือประจวบยังไม่สามารถจัดเรือลากจูงสนับสนุนการเข้าเทียบได้และขอเวลาเตรียมการเนื่องจากไม่ได้มีการแจ้งไว้ล่วงหน้า

ต่อมาเวลาประมาณ 12:45 น. ขณะนั้นเรือหลวงสุโขทัยอยู่ห่างจาก ท่าเรือประจวบประมาณ 15 ไมล์ ผู้บังคับการเรือตัดสินใจนำเรือกลับฐานทัพเรือสัตหีบซึ่งโดยหลักการแล้วผู้บังคับการเรือสามารถตัดสินใจภายใต้สถานการณ์จำกัดได้ เรือใช้เข็ม 030 ความเร็วแปดนอต ระยะทาง 100 ไมล์ โดยขณะนั้นทะเลมีสภาพคลื่นลมรุนแรงมากคลื่นสูงสี่ถึง 5 เมตรเคลื่อนที่มาจากทิศ 030 ความเร็วลมประมาณ 25 ถึง 30 นอต สังเกตเห็นว่าหัวเรือฟัดคลื่นและมีน้ำทะเลจำนวนมากเข้ามาที่เรือบริเวณป้อมปืน

เวลา 13:00 น. มีเสียงเตือนน้ำท่วมที่ห้องปฏิบัติการต่อต้านเรือดำน้ำดังขึ้น ลงไปตรวจพบน้ำไหลออกจากผนังใยแก้ว ตัวเรือกลับซ้ายมีน้ำไหลเข้ามาประมาณ 1 ฟุตจึงใช้เครื่องสูบน้ำสูบน้ำออกจากห้อง ระหว่างการระบายน้ำมีไฟฟ้าดูดจึงเปลี่ยนมาใช้วิธีการตักน้ำเพื่อระบายน้ำออกนอกตัวเรือ

ต่อมาเวลาประมาณ 14:00 น. ถึง 15:00 น. ระบบปรับพิทชใบจักร มีกำลังดันลดลงโดยเกิดขึ้นสองครั้งแต่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งสองครั้ง และในช่วงเวลาดังกล่าวมีสภาพคลื่นลมรุนแรงขึ้นผิดปกติคลื่นสูงสี่ถึง 6 เมตรลมกระโชกแรง จึงพยายามนำเรือแล่นส่ายระหว่างเข็ม 030 ถึง 045 เพื่อหลบร่องคลื่นแต่เรือก็ยังมีอาการโคลงมากและยังคงมีน้ำทะเลจำนวนมากหอมซัดจากหัวเรือม้วนเข้าตัวเรือ ตั้งแต่ป้อมปืน 76 มิลลิเมตรจนถึงสะพานเดินเรือยาวต่อเนื่อง

เวลา 15:00 น.  น้ำท่วมบริเวณหน้าห้องเครื่องไฟฟ้าสูงประมาณ 3 ฟุตเจ้าหน้าที่แผนกช่างกลได้นำเครื่องสูบน้ำใต้น้ำ 440 โวลต์เพื่อช่วยกันในการระบายน้ำแต่ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากเมื่อเสียบปลั๊ก เกิดไฟไฟฟ้าดูดจึงให้กำลังพล ช่วยกันระบายน้ำออก จนถึงเวลาประมาณ 16:30 น. ไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน จึงได้ขึ้นมาปิดประตูผนึกน้ำด้านบนที่ดาดฟ้าหลัก ทั้งนี้เหตุการณ์ที่หน้าห้องเครื่องไฟฟ้ามีมาต่อเนื่องตั้งแต่เช้า ช่วงแรกยังสามารถควบคุมน้ำได้ แต่หลังจากป้อมปืนแตก น้ำเข้าในเรือมากเกินกว่าจะควบคุมควบคุม

เวลาประมาณ 15:45 น. ได้ตรวจพบใหญ่แก้วสีเหลืองบริเวณเปลือกไฟเบอร์ป้อมปืน 76 มิลลิเมตรโดยไม่ทราบว่าเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด  อันมาจากการเกิดป้อมปืน 76 มิลลิเมตรแตก มีผลทำให้ปริมาณน้ำในห้องกันเบ ปืน 76 มิลลิเมตรเพิ่มขึ้น

เวลา 16:00 น. ผู้บังคับการเรือตัดสินใจหันเรือกลับไปที่ท่าเรือประจวบอีกครั้ง  โดยได้ติดต่อขอเข้าเทียบเรือท่าเรือประจวบ เรือใช้เข็ม 270 ความเร็วเจ็ดถึงแปดนอเรือเอียงประมาณ 30 องศาการควบคุมควบคุมอาการของเรือทำได้ยากลำบาก ในระหว่างนำเรือกลับไปยังที่ท่าเรือประจวบโดนคลื่นซัดเข้ามาทางด้านท้ายเรือไม่สามารถควบคุมอาการของเรือได้

เวลาประมาณ 16:45 น. ได้มีการสั่งการให้กำลังพลที่ร่วมมากับเรือที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานไปรวมตัวที่ห้องเบญจา  และยังขอประสานขอสนับสนุนเรือลากจูงหมาล่าเรือหลวงสุโขทัยกลับเข้าฝั่ง

ต่อมาเวลาประมาณ 17:00 น. เรือเอียงมากระสายมากขึ้นอ่านได้จากเครื่องวัดของเรือ  เรือเอียงประมาณ 15 ถึง 30 องศาทางกระซ้าย และในขณะนั้นมีน้ำท่วมในห้องกะลาสีดาดฟ้าสองความสูงน้ำประมาณเอว จากนั้นน้ำขึ้นมาบริเวณขอบประตูห้องวิทยุชั้นดาดฟ้าหนึ่งแผนกช่างกลใช้ไม้ค้ำยันดันประตูไม้ห้องวิทยุและประตูช่องทางเดินไปหัวเรือ

ต่อมาผู้ บังคับการเรือได้โทรศัพท์ติดต่อกับผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่หนึ่งรายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยได้รับคำแนะนำในการป้องกันความเสียหาย จนถึงเวลาประมาณ 17:30 น. ได้สั่งการผ่านระบบประกาศให้กำลังพลทั้งหมดขึ้นมาบนดาดฟ้า ทัศนะสัญญาณ เนื่องจากระดับน้ำเข้าเรือสูงขึ้นจนไม่สามารถทำการระบายออกได้ทัน

เวลา 17:45 น. เรือเอียงมากขึ้น  ประมาณ 50 ถึง 60 องศา ใช้สัญญาณโคมไฟไหม้บังคับทิศส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือและมีสัญญาณไฟตอบรับ รวมทั้งได้ใช้วิทยุมือถือ Marine Band Ch16 ในการติดต่อสื่อสารขอความช่วยเหลือ ต่อมาเครื่องไฟฟ้าได้ดับลงทำให้ไม่มีไฟฟ้าแสงสว่างได้ใช้การบอกต่อคำสั่งให้กำลังพลขึ้นมาข้างกราบบริเวณกลางลำ และมีการสั่งการให้แผนกช่างกลและกำลังพลบางส่วนช่วยกันปิดประตูผนึกน้ำรวมทั้งตรวจสอบว่าไม่มีกำลังพลหลงเหลือภายในเรือ

เวลาประมาณ 18:10 น.  หลังจากผู้บังคับการเรือออกจากภายในเรือคือสะพานเดินเรือ เป็นคนสุดท้ายและปิดประตูสะพานเดินเรือทางกลับเรือขวาได้สั่งการให้ตรวจสอบยอดกำลังพลด้วยวิธีนับตลอด ซึ่งนับกำลังพลได้ครบ 105 นาย ปรากฏว่ากำลังพลมีทั้งสวมเสื้อชูชีพและไม่ได้สวม และในขณะนั้นผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่หนึ่งได้สั่งการให้เรือหลวงกระบุรีออกจากท่าเรือประจวบไปช่วยเหลือ

เรือหลวงกระบุรีเข้าไปถึงเรือหลวงสุโขทัยตั้งแต่เวลา 20:21 น. และให้การช่วยเหลือประมาณ 3 ชั่วโมงก่อนเรือหลวงสุโขทัยอับปาง

ข้อมูลสำคัญที่เป็นองค์ประกอบคือสภาพอากาศที่เกิดขึ้นจริงมีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงฉับพลัน มีคลื่นสูงสุดถึง 6 เมตร ซึ่งคุณสมบัติของเรือหลวงสุโขทัยกำหนดไว้ว่า สามารถเดินเรือได้สูงสุดได้ระดับ คลื่นสูงประมาณ 2.5 ถึง 4 เมตร
สภาพอากาศที่เกิดขึ้นจริงมีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงฉับพลัน  จึงส่งผลทำให้เรือมีอาการโคลงมากการควบคุมเรือทำได้ยากลำบาก อีกทั้งคืนดังกล่าวเป็นคืนเดือนมืดเป็นอุปสรรคต่อการมองเห็นมีข้อจำกัดในการตรวจการ คลื่นลมที่รุนแรงนี้ยังพัดทำให้กำลังพลกระจายตัวออกไปยากต่อการให้ความช่วยเหลือ และเป็นอุปสรรคในการเอาชีวิตรอดในทะเล