ฮือฮา พบ ผึ้งหลวงหิมาลัย ฝูงแรกในประเทศไทย

View icon 81
วันที่ 20 เม.ย. 2567 | 06.17 น.
สนามข่าวเสาร์-อาทิตย์
แชร์
สนามข่าวเสาร์-อาทิตย์ - กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช แถลงพบ ผึ้งหลวงหิมาลัย เป็นครั้งแรกในประเทศไทย คาดว่าอาจเป็นผึ้งที่จะสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศได้ในอนาคต

นี่คือ ผึ้งหลวงหิมาลัย จุดสังเกตมีลักษณะปล้องท้องสีดำสนิท และขนรอบบริเวณปล้องอกมีสีเหลืองทอง ปีกสีขุ่นไม่โปร่งใส ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในบ้านเรา ปี 2565 บริเวณหน้าผาสูงของอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยกลุ่มงานกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์พันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

นายทรงเกียรติ ตาตะยานนท์ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ ให้ข้อมูลว่า ผึ้งหลวงหิมาลัย เป็นแมลงผสมเกสร และให้น้ำหวาน ที่มีความสำคัญต่อสังคมพืชในระบบนิเวศที่สูงเป็นอย่างมาก

ธรรมชาติของผึ้งชนิดนี้ มักทำรังหน้าผา หรือภูเขาสูง และชื่นชอบพื้นที่อากาศเย็น ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส

ซึ่งเดิมที ผึ้งที่ให้น้ำหวานในประเทศไทยมีเพียง 4 ชนิด คือ ผึ้งหลวง ผึ้งมิ้ม ผึ้งม้าน และ ผึ้งโพรง ต่อจากนี้จะมีการศึกษาเพิ่มเติมว่า น้ำผึ้งของผึ้งหลวงหิมาลัย มีความแตกต่างจากผึ้งชนิดอื่น ๆ ว่าเหมือนกับประเทศเนปาล และประเทศอินเดีย หรือไม่ เนื่องจาก น้ำผึ้งจากผึ้งหลวงหิมาลัย ของ 2 ประเทศนี้ มีคุณสมบัติทางกายภาพ และเคมีแตกต่างจากผึ้งชนิดอื่น ๆ จึงเป็นที่ต้องการของตลาดมาก ๆ ซึ่งหากค้นพบว่า น้ำหวานของผึ้งหลวงหิมาลัยของไทย มีคุณสมบัติพิเศษ อาจเป็นตัวกระตุ้นเศรษกิจได้ในอนาคต

ผึ้งหลวงหิมาลัย ถูกพบครั้งแรกที่จีน และพบการกระจายตัวแถว ๆ แนวเทือกเขาหิมาลัย และตอนเหนือของเวียดนาม ครั้งนี้จึงเป็นโอกาสดีของไทย ที่ได้พบ ผึ้งหลวงหิมาลัย เช่นกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง