สคช. ยกระดับมาตรฐานอาชีพ พบเด็กรุ่นใหม่ อยากทำงานมากกว่าเรียน

สคช. ยกระดับมาตรฐานอาชีพ พบเด็กรุ่นใหม่ อยากทำงานมากกว่าเรียน

View icon 101
วันที่ 25 เม.ย. 2567 | 16.48 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
วันนี้ (25 เม.ย. 67) สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. ได้จัดทำมาตรฐานอาชีพโดยกลุ่มคนในอาชีพ และให้การรับรองสมรรถนะเพื่อย้ำความเป็นมืออาชีพที่เป็นไปตามมาตรฐานกำหนด รวมถึงเป็นศูนย์ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคนของประเทศ

โดยทาง สคช. ได้พูดถึงประเด็นแรงงานไทยที่หลุดออกจากนอกระบบการศึกษา ในช่วงอายุ 15-18 ปี ซึ่งไม่ได้เรียนหนังสือแต่ได้ออกไปทำงาน ถึงกระนั้นยังอยู่ภายใต้การคุ้มครองแรงงาน เนื่องจากในการทางกฎหมายถือว่าเป็นเยาวชนที่ยังไม่สามารถออกไปทำงานเหมือนเช่นคนปกติทั่วไป

รวมถึงผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปจนถึง 30 ปี ที่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี หรือสำเร็จการศึกษาในขั้นต่ำ ควรจะทำอย่างไร โดยกลุ่มหลังนี้ สคช.สามารถผลักดันให้เข้าสู่สถานประกอบการได้เลย ซึ่งจะเน้นเด็กรุ่นใหม่ ที่อยากทำงานมากกว่าเรียน  ซึ่งจะช่วยให้เด็กกลุ่มนี้มีงานทำ แต่จะมีอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่มีนายจ้าง ซึ่งจะเป็นเด็กที่อยากทำงานเอง ส่วนมากจะไปทำงานหรืออาชีพอิสระ อาทิ ขายของออนไลน์,ไรเดอร์,ขับแกรบ หรือ ตัดเย็บเสื้อผ้าของตัวเอง

ซึ่งสคช. มีอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยเด็ก ๆ เหล่านี้ โดยการให้มาเรียนรู้หลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง หรือการรับรองทักษะหนึ่งในกลุ่มอาชีพที่เป็นที่นิยมมากคือ เรื่อง อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) คือการค้าขายทางออนไลน์ ซึ่งทาง สคช.มีเครื่องมือที่ให้เด็ก ๆ หรือคนทำงานได้เข้ามาดูว่า ตัวเองผ่าน E-Training หรือ กระบวนการฝึกอบรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของ สคช. หรือไม่

662a270d3138a5.92050697.png


โดยทาง สคช. พยายามปรับเครื่องมือเครื่องไม้ที่สามารถตอบโจทย์แรงงานรุ่นใหม่ให้ได้มากที่สุด ซึ่งในแต่ละอาชีพ ก็จะต้องมีความรู้ความสามารถว่าทำอะไรบ้าง  มีวิธีการทำงานอย่างไร ซึ่งจะเป็นสมรรถนะของอาชีพนั้น ๆ ที่มีความแตกต่างกันออกไป

และอีกหนึ่งคำถามที่มักถามกันบ่อยๆว่า นายจ้างจะได้ประโยชน์อย่างไรจากผู้ที่มีใบรับรองสมรรถนะของ สคช.? ซึ่งตอบได้ว่า หากนายจ้างารับลูกจ้างที่มีใบรับรองสมรรถนะเข้าไปทำงานแล้ว จะมั่นใจได้ว่า ลูกจ้างคนนั้นสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีหน่วยงานภาครัฐระดับประเทศอย่าง สคช.การันตีมาให้แล้ว

ปัจจุบันมีคนที่สนใจเข้ามาในระบบประเมินสมรรถนะของ สคช. แต่ผ่านการประเมินประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แต่ที่เหลืออีก 40 เปอร์เซ็นต์ จะทำอย่างไรให้ผ่าน ซึ่งก็ต้องย้อนกลับไปดูว่า ขาดตกบกพร่องอะไรไปบ้าง

โดยทาง สคช. มีระบบ Competency Credit Bankซึ่งทาง สคช. จะทราบว่า คนๆ นั้น สอบผ่านอะไรมาบ้าง ในทางวิชาการเราจะเรียกว่า สรรมถนะ จะมีหน่วยสมรรถนะกำกับ ไม่มีการเก็บเป็นรายวิชา แต่จะเก็บเป็นหน่วยสรรถนะเข้าระบบ

662a270fea5119.37548319.png

ซึ่งในขณะนี้ทาง สคช. ได้มีโมเดล Competency Credit Bank เกิดขึ้นแล้วที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีเริ่มนำร่องปลายปี 2567 นี้ โดยจะได้เห็นภาพที่ชัดเจนซึ่งจะต้องหาคนเข้าไปเรียนในอาชีพที่เขาสนใจ ซึ่งมีหลายมหาวิทยาลัยขอทำความเข้าใจและให้เกิดอย่างเป็นรูปธรรมก่อน แล้วค่อยเข้าร่วมโมเดล

โดยทาง สคช. ได้นำการใช้งานระบบคูปองอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือ E-Coupon ซึ่งเป็นที่จะช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายการฝึกอบรม และเก็บสะสมสมรรถนะที่เกิดจากการเรียนรู้ผ่าน Competency Credit Bank และนำไปสู่การได้รับคุณวุฒิวิชาชีพได้ในอนาคต

ทั้งนี้สคช. ยังรองรับกลุ่ม Soft Power ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาล เพื่อสนับสนุนให้กับคนกลุ่มนี้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อจะได้ต่อยอดทางธุรกิจด้วยตัวเอง เพื่อการพัฒนาฝีมือสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือสินค้า

สำหรับที่ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดผ่านเว็บไซต์ แพลตฟอร์มต่าง ๆ หรือหน่วยประเมินของ สคช. 300 แห่งทั่วประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง