ภาคเหนือ กลาง ฝนมากสุด ร้อยละ 80 ของพื้นที่

ภาคเหนือ กลาง ฝนมากสุด ร้อยละ 80 ของพื้นที่

View icon 74
วันที่ 24 พ.ค. 2567 | 08.49 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
ภาคเหนือ กลาง ฝนมากสุด ร้อยละ 80 ของพื้นที่ ขณะที่ กทม.ปริมณฑล อีสาน และกลาง ก็ไม่แพ้กัน  มีทั้งฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่ง กรมอุตุฯ บอก ไทยฝนยาวๆถึงสิ้นเดือน พ.ค.

วันนี้ (24 พ.ค.67) พยากรณ์อากาศ 06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้

664ff400c13f87.05265217.jpg

ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และตาก อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภูอุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม และนครราชสีมา อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร  อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดระนอง อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2- 3 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส

664ff40ece3604.47868581.jpg

พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 24 - 30 พ.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน และด้านตะวันตกของประเทศไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2 – 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ข้อควรระวัง:  ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับชาวบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดการเดินเรือ ตลอดช่วง

สถานการณ์แผ่นดินไหว(ในช่วงวันที่ 23 -24 พ.ค. 67): ตรวจพบเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 3.0 มีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเมียนมา ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทยแต่อย่างใด

664ff440905989.24950995.jpg