เริ่มแล้ว! สำรวจเด็กไทยหลุดออกนอกระบบการศึกษา

View icon 130
วันที่ 6 ก.ค. 2567 | 16.19 น.
เจาะประเด็นข่าว 7HD
แชร์
เจาะประเด็นข่าว 7HD - เดือนกรกฎาคมนี้ เป็นเดือนแห่งการค้นหา ดึงเด็กที่หลุดออกนอกระบบการศึกษา ให้กลับมาเรียน หลังพบตัวเลขเด็กออกกลางคัน ปี 2566 ประมาณ 1 ล้านคน

เรื่องนี้ อาจารย์ สมพงษ์ จิตระดับ กรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. เปิดเผยกับกับทีมข่าว (มายด์ พิชฎา) บอกว่า ผลสำรวจปี 2566 พบเด็กไทยอายุไม่เกิน 18 ปี หลุดจากระบบการศึกษากว่า 1 ล้านคน จากเดิมปีละ 500,000 คน แม้จะมีการพยายามดึงเด็กกลัะบเข้าสู่ระบบการศึกษา แต่ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา สามารถตามกลับมาได้ไม่ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากครอบครัวเด็กส่วนใหญ่ประสบปัญหาความยากจน ไม่มีกำลังส่งลูกเรียนให้จบระดับการศึกษาพื้นฐาน หรือ ม.3 หรือเด็กบางคน อาจมีปัญหาฝั่งใจไม่อยากกลับไปเรียน

รัฐบาลจึงจัดให้เป็นวาระแห่งชาติ ตามเด็กกลับมาเข้าสู่ระบบการศึกษาโดยการให้หน่วยในพื้นที่ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. ตามหาเด็กที่หลุดการศึกษาทั้งหมด เพื่อพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และวางแผนดึงเด็กกลับมา โดยให้โรงเรียนจัดการเรียน การสอน 3 รูปแบบ เรียนในระบบ (ไปเรียนที่ รร.), เรียนนอกระบบ (เรียน กศน.) และ เรียนตามอัธยาสัย (ไปเรียนด้วย ทำงานด้วย)

สำหรับการเรียนแบบอัธยาศัย น่าจะตอบโจทย์ที่สุด คือ เด็กไม่ต้องมาเรียนทุกวัน แต่ให้นำวิชาชีวิตจากการทำงาน รวมเข้ามาเป็นหน่วยกิตการศึกษา โดยสถานศึกษาต้องออกแบบการเรียนให้ได้แบบยืดหยุ่น

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้จะสำเร็จได้ ก็ต่อมาทุกภาคส่วน ตั้งแต่ระบบครอบครัว โรงเรียน หน่วยงานรัฐ และภาคเอกชน ให้ความร่วมมือมองไปที่เป้าหมายเดียวกัน คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้เด็กได้เรียนหนังสือและทำงานหรือจัดการภาระที่บ้านไปได้พร้อม ๆ กัน

ขณะที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา พัฒนาศักยภาพตนเอง ตามแผนการเรียนแบบ Active Learning โดยสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จัดอบรมครูระดับประถมศึกษา 9 โรงเรียนในพื้นที่

โดยให้ร่วมออกแบบการเรียนการสอนที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งจะช่วยให้การเรียนรู้ไม่น่าเบื่อ รวมทั้งเสริมสร้างศักยภาพของครูในการเลือกสื่อการสอน ให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมออกแบบ เพื่อให้ได้ผลงานที่เป็นรูปธรรมออกมา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง