อยากใช้จ่ายเงินดิจิทัลวอลเล็ตในพื้นที่ที่อยู่จริง เพียงย้ายทะเบียนบ้าน ปัจจุบันไม่ยุ่งยาก

อยากใช้จ่ายเงินดิจิทัลวอลเล็ตในพื้นที่ที่อยู่จริง เพียงย้ายทะเบียนบ้าน ปัจจุบันไม่ยุ่งยาก

View icon 563
วันที่ 1 ส.ค. 2567 | 09.26 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
ลงทะเบียนดิจิทัลวอลเล็ต! กรมการปกครองพร้อมอำนวยความสะดวก ให้ประชาชนที่ประสงค์ย้ายทะเบียนให้ตรงกับที่อยู่ปัจจุบัน เพื่อความสะดวกในการใช้จ่ายเงิน 

วันนี้ (1 ส.ค.67) กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการปกครอง กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลมีโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต และเปิดให้ลงทะเบียนรับสิทธิตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. -  15 ก.ย. 67 พร้อมกับเปิดให้ประชาชนย้ายที่อยู่ในทะเบียนบ้านได้ เพื่อให้สามารถใช้จ่ายเงินดิจิทัลวอลเล็ตได้สะดวกขึ้น โดยสามารถแจ้งย้ายที่อยู่ตามทะเบียนบ้านได้ที่อำเภอ หรือสำนักงานเขต ก่อนที่จะลงทะเบียนสมัครดิจิทัลวอลเล็ต 1 วัน เช่น จะลงทะเบียนทะเบียนวันที่ 3 สิงหาคม 2567 ก็ต้องย้ายทะเบียนบ้านให้เสร็จก่อนวันที่ 2 สิงหาคม 2567 ซึ่งปัจจุบัน วิธีการย้ายทะเบียนบ้านสามารถทำได้ง่ายสะดวกรวดเร็ว โดยสามารถแจ้งย้ายปลายทางได้

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สั่งการกรมการปกครอง โดยเฉพาะฝ่ายที่ทำหน้าที่ดูแลด้านทะเบียนราษฎร อำเภอ สำนักงานเขต ให้การสนับสนุนอำนวยความสะดวก ช่วยเหลือประชาชนที่มีความประสงค์ย้ายที่อยู่ในทะเบียนบ้านอย่างเต็มที่  โดยเฉพาะในช่วงการเปิดให้ลงทะเบียนโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต เพื่อให้สามารถใช้จ่ายเงินดิจิทัลวอลเล็ตได้สะดวกขึ้น ตามนโยบายของรัฐบาล

การย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง
ในกรณีการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง คือการย้ายทะเบียนบ้านออกจากบ้านหลังเดิม และขอแจ้งย้ายเข้าทะเบียนบ้านหลังใหม่ต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งในท้องที่ใหม่ไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งจะทำให้เราประหยัดเวลาในการดำเนินเรื่องหลาย ๆ ด้าน

เอกสารในการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง

-สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ของบ้านที่จะย้ายเข้า
-บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งย้าย หรือบัตรประจำตัวตามกฎหมายอื่นพร้อมสำเนา บัตรที่ลงชื่อเจ้าของบัตร กำกับไว้
-เจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าอยู่ใหม่
-บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าอยู่ใหม่
-หนังสือยินยอมให้แจ้งย้ายเข้าของเจ้าบ้านที่จะเข้าอยู่ใหม่ (กรณีเจ้าบ้านไม่สามารถไปแจ้งย้ายได้)
-หนังสือมอบหมายจากผู้ย้ายที่อยู่ บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมด้วยสำเนาบัตรดังกล่าวที่ลงชื่อเจ้าของบัตรกำกับไว้ ทั้งผู้มอบและผู้รับมอบ (ข้อแนะนำคือ ในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน ทั้ง 2 ฝ่ายควรเป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันไม่ว่าจะเป็นญาติ คนรู้จัก ผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้ที่มีนิติสัมพันธ์)

จากข้อมูล กระทรวงมหาดไทย ณ ปัจจุบัน ข้อมูลด้านทะเบียนราษฎรพบว่าข้อมูลการย้ายที่อยู่ในระดับปกติ โดยในเดือน ก.ค. 67 พบว่า จำนวนประชาชนย้ายเข้า 222,341 คน ย้ายออก 222,736 คน  รวม 445,077 คน สำหรับข้อมูลทางทะเบียนในภาพรวม พบว่า ตั้งแต่เดือน ม.ค. - ก.ค. 2567 รวม 7 เดือน ประชาชนทั่วประเทศไทยมีการย้ายทะเบียนบ้านเข้า-ออกรวม 3,158,727 คน แยกเป็นการย้ายเข้า 1,578,007 คน และย้ายออก 1,580,720 คน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง