พร้อมกับมอบโอวาทแก่กำลังพล โดยขอให้ทุกคนมีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีอันสำคัญสำคัญยิ่งนี้และจงทำหน้าที่ของตนให้เต็มที่ เพื่อให้การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นไปด้วยความเรียบร้อยเรียบร้อยสง่างามและสมพระเกียรติ
สำหรับรูปแบบการจัดขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ ใช้เรือพระราชพิธี 52 ลำ ความยาว 1,200 เมตร กว้าง 90 เมตร โดยใช้กำลังพลประจำเรือในขบวนเรือพระราชพิธี 2,200 นาย ซึ่งเป็นการจัดรูปขบวนตามรูปแบบโบราณราชประเพณีทุกประการ แบ่งออกเป็น 5 ริ้ว 3 สาย คือ
- ริ้วสายกลาง ซึ่งเป็นเรือสายสำคัญ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่ง 4 ลำ มีเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ นอกจากนี้ มีเรืออีเหลือง เรือกลองนอก เรือแตงโม ซึ่งเป็นเรือของผู้บัญชาการขบวนเรือ เรือกลองใน พร้อมด้วยเรือตำรวจนอก และเรือตำรวจใน
- ริ้วสายใน ขนาบข้าง ฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของริ้วซ้ายกลาง มีเรือทองขวานฟ้าและเรือทองบ้าบิ่น เป็นเรือประตูหน้า เรือเสือทยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์ เป็นเรือพิฆาต เรือรูปสัตว์ 8 ลำ และปิดท้ายสายในด้วยเรือเอกไชยเหินหาว และเรือเอกไชยหลาวทอง ซึ่งเป็นเรือคู่ชัก
- ริ้วสายนอก อยู่ทางด้านซ้ายและขวาของริ้วสายใน ประกอบด้วยเรือดั้ง และเรือแซง สายละ 14 ลำ รวม 52 ลำ
โดยจะมีการฝึกซ้อมย่อย เป็นรูปขบวนเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา จำนวน 10 ครั้ง ดังนี้ วันที่ 1 ,8 ,15 ,22 สิงหาคม วันที่ 3 ,12 ,19 ,26 กันยายน วันที่ 1 และ 10 ตุลาคม และการซ้อมใหญ่ 2 ครั้ง ในวันที่ 15 และ 22 ตุลาคม โดยพระราชพิธีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 27 ตุลาคม 2567
ประชาชนสามารถรับชม การฝึกซ้อมได้ตลอดเส้นทางที่ขบวนเรือแล่นผ่านโดยพื้นที่สาธารณะที่สามารถรับชมได้อย่างใกล้ชิด มีดังนี้ ฝั่งธน บริเวณใต้สะพานพระราม 8 ด้านพระบรมราชเสาวรีย์รัชกาลที่ 8 สวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ข้างโรงพยาบาลศิริราช ท่าน้ำวัดระฆังโฆษิตาราม และวัดอรุณราชวราราม ฝั่งพระนคร ที่สวนสันติชัยปราการ ข้างป้อมพระสุเมรุ ท่ามหาราช และท่าช้าง ตั้งแต่เวลา 15.00 น. ที่เรือพระราชพิธีเริ่ม เคลื่อนขบวนบริเวณสะพาน พระราม 8 จนเสร็จพิธีที่วัดอรุณราชวราราม