ฝุ่นลด! พื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดรอบๆ ฝุ่นพิษลดลง ขณะที่เชียงใหม่ และภาคเหนือหลายพื้นที่ฝุ่น
วันนี้ (27 ม.ค.68) เว็บไซต์ IQAir จัดอันดับคุณภาพอากาศตามเมืองสำคัญของโลก ณ 07.30 น. ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI⁺) และมลพิษทางอากาศ PM2.5 พบว่า กทม. ค่าฝุ่น PM2.5 ฝุ่นลดลงจากระดับสีแดง สีส้ม เป็นระดับสีเหลือง อยู่ในอันดับ 49เมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก ขณะที่ เชียงใหม่ อยู่ระดับสีส้ม อันดับ 16 ควรลดการออกกำลังกายกลางแจ้ง และปิดหน้าต่างของคุณเพื่อหลีกเลี่ยงอากาศภายนอกบ้านที่สกปรก สวมหน้ากากภายนอกบ้าน
อย่างไรก็ตาม 10 อันดับเมืองไทย ที่ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI⁺)และมีมลพิษทางอากาศ PM2.5 มากที่สุด (เวลา 7.00น.) คือ
อันดับเมือง
1 ชะอำ, จังหวัดเพชรบุรี
2 อำเภอหัวหิน, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
3 บางกอกใหญ่, กรุงเทพฯ
4 Mae Rim, จังหวัดเชียงใหม่
5 ระยอง, จังหวัดระยอง
6 Mae Hi, จังหวัดแม่ฮ่องสอน
7 Mae On, จังหวัดเชียงใหม่
8 อำเภอเมืองพะเยา, จังหวัดพะเยา
9 ดอยสะเก็ด, จังหวัดเชียงใหม่
10 เทศบาลนครเชียงใหม่, จังหวัดเชียงใหม่
เว็บไซต์ "IQAir" แบ่งเกณฑ์การวัดคุณภาพอากาศ PM 2.5 ดังนี้
สีเขียว 0-50 AQI คุณภาพอากาศ "ดี"
สีเหลือง 51-100 AQI คุณภาพอากาศ "ปานกลาง"
สีส้ม 101-150 AQI คุณภาพอากาศ "มีผลกระทบต่อผู้ป่วยหรือร่างกายอ่อนแอ"
สีแดง 151-200 AQI คุณภาพอากาศ "มีผลกระทบต่อทุกคน"
สีม่วงอ่อน 201-300 AQI คุณภาพอากาศ "มีผลกระทบต่อทุกคนอย่างรุนแรง"
สีม่วงเข้ม 301+ AQI คุณภาพอากาศ "อันตราย"
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 เวลา 07:00 น. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 41 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.)
12 อันดับ ของค่าฝุ่น PM2.5 เขตสูงสุดในกรุงเทพมหานคร
1 เขตหนองจอก 51.8 มคก./ลบ.ม.
2 เขตบึงกุ่ม 51 มคก./ลบ.ม.
3 เขตหลักสี่ 50.3 มคก./ลบ.ม.
4 เขตวังทองหลาง 49.5 มคก./ลบ.ม.
5 เขตบางนา 49.5 มคก./ลบ.ม.
6 เขตสาทร 48.8 มคก./ลบ.ม.
7 เขตมีนบุรี 48.1 มคก./ลบ.ม.
8 เขตสายไหม 47.2 มคก./ลบ.ม.
9 เขตคลองสามวา 46.2 มคก./ลบ.ม.
10 เขตคันนายาว 45.9 มคก./ลบ.ม.
11 เขตบางขุนเทียน 45.5 มคก./ลบ.ม.
12 เขตลาดกระบัง 44.2 มคก./ลบ.ม.
ฝุ่นละอองมีแนวโน้มลดลง คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ข้อแนะนำสุขภาพ
คุณภาพอากาศระดับสีส้ม: เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์