จับชาวโรฮีนจา หนีจากแคมป์เข้าไทย แฉขบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติ “เมียนมา-ไทย-มาเลเซีย” ยังมีลมหายใจ สร้างแคมป์ที่พักใหญ่อยู่ชายแดนไทย-เมียนมา มีแรงงานจ่อทะลักเข้าไทยอีกเพียบ มีทหารกะเหรี่ยงดูแล
วันนี้ ( 27 มี.ค. 68 ) นายอำนวยชัย ดิพิมาย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 10 ต.รับร่อ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร ซึ่งมีพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา ได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่า พบชายชาวต่างชาติ 2 คน ลักษณะท่าทางมีพิรุธ เดินอยู่ในหมู่บ้าน จึงไปตรวจสอบ พร้อมว่าที่ ร้อยตำรวจเอก วัมนา รัญจุล หัวหน้าชุดเฝ้าตรวจชายแดนที่ 4102 และเจ้าหน้าที่ชุดเฝ้าตรวจชายแดนที่ 4102 พบชายทั้ง 2 คน จริง จึงเรียกให้หยุด พร้อมขอตรวจสอบหนังสือเดินทาง แต่ทั้ง 2 คน ไม่มีหนังสือเดินทาง เจ้าหน้าที่จึงนำตัวไปสอบถาม เบื้องต้น ชื่อ นายบาเมาะ อายุ 33 ปี กับ นาย นาย ซอลิมเจาะ อายุ 20 ปี ให้การว่า เดินทางมาจากประเทศเมียนมา ลักลอบเข้าประเทศไทย ผ่านช่องทางธรรมชาติ ที่ห่างจากจุดที่พบตัวทั้ง 2 คน ห่างจากชายแดนไทย-เมียนมา ประมาณ 36 กิโลเมตร โดยตนทั้ง 2 คน เดินเท้ามาจนถึงหมู่บ้าน ก่อนถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวได้ จึงแจ้งข้อหา หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ก่อนนำตัวส่งพนักงานสอบสวน สภ.ท่าแซะ ดำเนินคดี
นายบาเมาะ และ นายซอลิมเจาะ ยังให้การเพิ่มเติมว่า พวกตนเป็นชาวโรฮีนจา เดินทางด้วยเรือออกจากรัฐยะไข่ ประเทศเมียนมา จากนั้นมาขึ้นฝั่งที่ อำเภอ บกเปี้ยน ประเทศเมียนมา จากนั้นมีการนำพาไปพักอยู่ในแคมป์แรงงาน ซึ่งห่างชายแดนไทย-เมียน ราว 60 กิโลเมตร โดยแคมป์แห่งนี้มีกองกำลังทหารกะเหรี่ยงดูแลคุ้มครอง และในแคมป์ยังมีชาวโรฮีนจา อยู่ในแคมป์อีกประมาณ 200 คน ที่จะลักลอบข้ามชายแดนไทย-เมียนมา ผ่านช่องทางธรรมชาติ แล้วเดินทางไปหางานทำที่ประเทศมาเลเซีย ซึ่งแต่ละคนก็ต้องหาเงินมาจ่ายให้นายหน้าชาวเมียนมา คนละประมาณ 45,000-50,000 บาท แต่ทั้งทั้ง 2 คน ทนกับความเป็นอยู่ในแคมป์ที่มีสภาพแออัดไม่ไหว อีกทั้งไม่มีอาหารให้กินได้เพียงพอ และยังถูกทหารกะเหรี่ยงทำร้ายร่างกาย จึงวางแผนลักลอบหลบหนีออกจากแคมป์ แล้วข้ามช่องทางธรรมชาติมายังฝั่งประเทศไทย ตามถนนภายในป่าและภูเขา จนมาพบหมู่บ้าน ซึ่งใช้เวลาเดินเท้าทั้งหมด 4 วัน
ทั้งนี้แคมป์ชาวโรฮีนจา กลุ่มดังกล่าว เป็นกลุ่มเดียวกับที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง เคยเข้าไปพบในพื้นที่โนแมนแลนด์ ชายแดนไทย-กัมพูชา ด้านตำบลรับร่อ อำเภอท่าแซะ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ซึ่งแคมป์นี้มีชาวโรฮีนจาอาศัยรอส่งตัวข้ามชายแดนมากกว่า 400 คน โดยชาวโรฮีนจาแต่ละคน ต้องจ่ายค่านายหน้าให้นายหน้าชาวเมียนมา-ไทย-มาเลเซีย ในราคา 45,000- 50,000 บาท และแต่ละประเทศก็จะมีจุดพักคอย และระหว่างทางก็จะถูกทำให้กลัว ทั้งการบังคับใช้แรงงาน การบังคับพาไปเป็นการแสวงหาผลประโยชน์มิชอบ ก่อนจะส่งปลายทางที่ประเทศมาเลเซีย
พฤติการณ์ของขบวนการนี้ จัดหาคนแล้วซื้อคน จำหน่ายคน จากนั้นก็ข่มขู่พาจากที่ภูมิลำเนา มาตามเส้นทางในประเทศเมียนมา แล้วนำเข้าประเทศไทย และมีการใช้อำนาจจากเจ้าหน้ารัฐบาลคนโดยมิชอบในการลักลอบนำพาแรงงานโรฮีนจาหลบหนีเข้าเมือง และยังมีการ หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้อยู่อาศัย บางรายถูกบังคับใช้แรงงาน หรือบางรายถูกนำไปขายแลกสินค้า ซึ่งเป็นลักษณะของขบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติ มีการแบ่งหน้าที่กันทำ มีการขายคนเพื่อแสวงหาประโยชน์ มีนายหน้าแต่ละประเทศส่งต่อกัน และแต่ละรอบก็จะทยอยส่งครั้งละ 30-40 คน