ไมโครพลาสติก ลุ่มน้ำบางปะกง ภัยใกล้ตัวที่ ความเสี่ยงที่ไม่อาจมองข้ามได้

ไมโครพลาสติก ลุ่มน้ำบางปะกง ภัยใกล้ตัวที่ ความเสี่ยงที่ไม่อาจมองข้ามได้

View icon 120
วันที่ 16 พ.ค. 2568 | 15.19 น.
ข่่าวออนไลน์7HD
แชร์
ทุกภาคส่วน เร่งจัดการไมโครพลาสติก ลุ่มน้ำบางปะกง ภัยใกล้ตัวที่สะสมในอวัยวะภายใน ความเสี่ยงที่ไม่อาจมองข้ามได้

วันนี้ (16 พ.ค.68) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาสิ่งแวดล้อมไทย (สอสท) พร้อมตัวแทนภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม ร่วมระดมความคิดเห็นและสนทนากลุ่ม (focus group) วางแผนและกำหนดทิศทางการแก้ไขปัญหามลพิษจากไมโครพลาสติกอย่างเป็นระบบและยั่งยืน

การประชุมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการไมโครพลาสติกที่กระทบต่อสุขภาพในประเทศไทย” เพื่อศึกษาการสะสมของไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อมและร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกง ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญด้านการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมอาหารทะเล ซึ่งไมโครพลาสติกเป็นอนุภาคพลาสติกขนาดเล็กที่เกิดจากการสลายตัวของขยะพลาสติกในสิ่งแวดล้อม และสามารถเข้าสู่ระบบนิเวศรวมถึงร่างกายมนุษย์ผ่านทางอาหาร น้ำดื่ม และอากาศ จากงานวิจัยในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย พบว่า อนุภาคพลาสติกขนาดเล็กเหล่านี้ สามารถสะสมในอวัยวะภายในและอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพ แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัด แต่สัญญาณเตือนจากการศึกษาที่ผ่านมา ได้ชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงที่ไม่อาจมองข้ามได้

ทั้งนี้ มลพิษสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะไมโครพลาสติก ได้กลายเป็นปัญหาที่ซ่อนอยู่ในวิถีชีวิตประจำวันของเราทุกคน ทั้งจากอาหารที่บริโภค อากาศที่หายใจ และน้ำที่ดื่ม แม้จะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่ไมโครพลาสติกสามารถสะสมในร่างกายของมนุษย์ และมีงานวิจัยพบว่า อนุภาคขนาดเล็กเหล่านี้สามารถเข้าสู่อวัยวะสำคัญ เช่น ลำไส้ ตับ ปอด และแม้แต่ในเลือด ซึ่งส่งผลกระทบในระยะยาวต่อสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจ

“ไมโครพลาสติกเป็นปัญหาที่แทรกซึมอยู่ในทุกมิติของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นในสิ่งแวดล้อม อาหาร น้ำ หรือแม้กระทั่งในร่างกายของเราเอง การวิจัยจำนวนมากทั้งในและต่างประเทศ พบว่า อนุภาคพลาสติกขนาดเล็กเหล่านี้สามารถเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิต สะสมในอวัยวะภายใน และอาจเกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพเรื้อรังหลายประการ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเรายังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดในเชิงสาเหตุของผลกระทบเหล่านั้น แต่สัญญาณเตือนที่ปรากฏมากขึ้นเรื่อย ๆ ย่อมไม่อาจมองข้ามได้” รศ.ดร.รัฐชา ชัยชนะ หัวหน้าโครงการฯ กล่าว

ในปี 2568 นี้ ทีมนักวิจัยฯ จะศึกษาการสะสมไมโครพลาสติกจากสิ่งแวดล้อมและในประชาชนกลุ่มตัวอย่าง พร้อมจัดทำนโยบายเชิงเสนอเพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม โดยความร่วมมือนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการปกป้องสุขภาพประชาชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง