เรียนรู้ Gen Alpha สำหรับตลาดแรงงานในอนาคตอันใกล้

เรียนรู้ Gen Alpha สำหรับตลาดแรงงานในอนาคตอันใกล้

View icon 87
วันที่ 23 พ.ย. 2566 | 07.00 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
#เศรษฐศาสตร์ตลาดสด ภายในอีกไม่กี่ปีเจเนอเรชันอัลฟา (Gen Alpha) จะเริ่มเข้าสู่ตลาดแรงงาน มาทำความรู้จักคุณลักษณะที่โดดเด่นในเรื่องทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสมบูรณ์และความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม แนวโน้มการทำงานเป็นแบบฟรีแลนซ์ การทำงานจากที่ไหนก็ได้มากกว่างานประจำในองค์กรทุกวัน

เจเนอเรชันอัลฟา (Gen Alpha) เกิดในช่วง 2010 - 2024 ผลการวิจัยพบว่าเจเนอเรชันอัลฟามีสามารถในการเรียนรู้เทคโนโลยีตั้งแต่วัยเด็ก เติบโตมาพร้อมทักษะการใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพและชาญฉลาดกว่ารุ่นอื่น โดยพบว่าเด็ก Gen Alpha นี้จะมีอัตราเฉลี่ยในการใช้อินเตอร์เน็ตสูงถึงร้อยละ 47.4 ต่อวัน ถือเป็นวัยที่ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเชี่ยวชาญ ทั้งนี้ McCrindle ระบุว่าในปี 2025 เจเนอเรชันอัลฟาจะมีจำนวนมากกว่า 2 พันล้านคนทั่วโลกถือเป็นเจเนอเรชันที่มีจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์

ตัวอย่างคุณลักษณะของ Gen Alpha ที่น่าสนใจ อาทิ เป็นแรงงานที่เติบโตในยุคที่ดิจิทัลสมบูรณ์แบบในขณะที่ Gen Z กำลังเติบโตในยุคที่กำลังเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล Gen Alpha มุ่งเลือกเฉพาะในสิ่งที่ตัวเองสนใจเท่านั้น โดยเฉพาะในเรื่องเทคโนโลยีจะให้ความสนใจเป็นพิเศษ ประกอบกับมีทักษะในการหาข้อมูลที่หลากหลายรูปแบบ

Gen Alpha มีความสามารถในการปรับตัวทันโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและไม่แน่นอนสูง ยอมรับและพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ โดยมองเป็นเรื่องความท้าทาย มีฐานความรู้แบบองค์รวม เนื่องจากจากเติบโตมาในยุคที่มีระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีความเชื่อมโยงสูง การพัฒนาองค์ความรู้มีความหลากหลายและเป็นสหวิชาชีพ จึงมีแนวโน้มในการมีทักษะที่ประยุกต์องค์ความรู้ต่างๆ ได้ดี เห็นได้ชัดเจนว่าเจเรอเนชันอัลฟาตระหนักถึงประเด็นระดับโลกที่เกิดขึ้นรอบตัวได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลหลายช่องทาง มีความสามารถในการเรียนรู้เกี่ยวกับเชิงตรรกะและแยกประเด็นซับซ้อนได้ ทั้งเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ ประวัติศาสตร์ การเมือง สังคมและสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ยุค Gen Alpha ได้เรียนรู้ผ่านการเรียนการสอนผ่านองค์ความรู้แบบ STEM ซึ่งเป็นการสอนแบบบูรณาการข้ามกลุ่มสาระวิชาระหว่างศาสตร์สาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และ คณิตศาสตร์ โดยประยุกต์จุดเด่นของธรรมชาติ ตลอดจนวิธีการสอนของแต่ละสาขาวิชามาผสมผสานกันอย่าง ทำให้สามารถใช้ความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา การค้นคว้า และการพัฒนาสิ่งต่างๆ ในสถานการณ์โลกปัจจุบัน ซึ่งล้วนเป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 นี้ ดังนั้นจึงความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ มีการใช้ปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในงานอย่างมีนัยสำคัญและหลายภาคส่วน

คุณลักษณะที่โดดเด่นอีกเรื่องคือ รักอิสระสูง เข้าทำงานประจำที่องค์กรไม่ทุกวัน สามารถทำงานได้จากทุกที่ (Remote working) แนวโน้มเป็นงานลักษณะแนวฟรีแลนซ์ กลุ่มอาชีพทำงานผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์พร้อมการท่องเที่ยวแบบ Digital Nomad จะ มีสัดส่วนมากขึ้น อีกทั้งมีความมั่นใจตัวเองสูงและต้องการประสบความสำเร็จเร็ว การนำเสนอผลงานเน้นผลสัมฤทธิ์ (Result-based orientation) เป็นสำคัญ

อย่างไรก็ตามข้อคุณลักษณะที่ควรคำนึง คือ เจเนอเรชันอัลฟามีแนวโน้มเปลี่ยนงานบ่อย เบื่อหน่ายง่าย หากอะไรที่ไม่น่าสนใจก็จะหักเหความสนใจได้ง่าย และจะเปลี่ยนไปหาสิ่งที่น่าสนใจกว่าได้เร็ว มุ่งทำงานในทักษะชำนาญการและประยุกต์ทักษะ ไม่ชอบฝึกฝนทักษะพื้นฐานที่ใช้เวลานาน จึงอาจขาดทักษะในการแก้ปัญหาเชิงลึก และทักษะการกรองข้อมูลและเลือกรับข้อมูลข่าวสารที่มีจำนวนมาก คุ้นชินกับความรวดเร็วเป็นหลัก นอกจากนี้ อาจขาดมนุษยสัมพันธ์ โอกาสการสื่อสารด้วยวาจาและการพบกันแบบเผชิญหน้าน้อยลง จึงควรมีการพัฒนาการสื่อสารภายในองค์กรหรือการสร้างความเข้าใจในหมู่เพื่อนร่วมงานต้องมีความสม่ำเสมอและปฏิสัมพันธ์ผ่านกิจกรรมในองค์กรที่เข้มข้นมากขึ้น เพื่อเพิ่มทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์

ข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อ้างอิง ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยบาธ ระบุว่าเจเนอเรชันอัลฟามีโอกาสซึมเศร้าเกิดจากผลกระทบจากความเหงาที่เกิดจากการระบาดครั้งใหญ่ในช่วงโควิด-19 การสร้างที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ คือ ต้องสร้างพื้นที่ปลอดภัยที่ออกแบบมาเพื่อช่วยป้องกันความเหงาและบรรเทาผลกระทบต่อพัฒนาการในระยะที่อาจเกิดขึ้น

รูปแบบการทำงานในอนาคต ตัวอย่าง มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในแต่ละสายงาน แรงงานในอนาคต คนรุ่นใหม่จะเริ่มอยากทำงานแบบฟรีแลนซ์มากขึ้น และแบบ Remote Working ตามที่กล่าวข้างต้น การทำงานระบบบริษัทเป็นแบบ hybrid นโยบายการเข้าทำงาน 4 วันต่ออาทิตย์อาจจะใช้กับองค์กรทุกระดับ องค์กรจำเป็นต้องปรับระบบการทำงานหลากหลายรูปแบบและยืดหยุ่นสูง แนวการบริหารบุคคลเป็นแบบ Work Life Fit กล่าวคือ คิดค้นวิธีทำงานใหม่ ๆ ให้แรงงานและคนในองค์กรพอใจ และสร้างสรรค์ประโยชน์ให้องค์กรได้มากที่สุด

นอกจากนี้ทำงานแบบเป็นโครงการแทนการทำงานแบบตามหน้าที่หลัก โดยเปิดโอกาสให้คนเข้ามาร่วมทำงานตามความชำนาญควบคู่กับการทำงานด้วยความสนใจจากส่วนอื่นขององค์กร แนวทางการทำงานสามารถสลับบทบาทตามระยะเวลาโครงการ  มีระยะเวลาสิ้นสุดชัดเจน ที่สำคัญคนรุ่นใหม่สามารถเป็นผู้นำของกลุ่มได้และเป็นบทบาทลักษณะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ถือเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยสร้างความเป็นเจ้าของในภารกิจและการมีส่วนร่วม และเปิดโอกาสให้แสดงศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่

ทักษะแรงงานในอนาคตมีเปลี่ยนไปตามยุคสมัย จึงควรทำความเข้าใจคุณลักษณะและเตรียมพร้อมรองรับทักษะแรงงานที่เหมาะสม การทำงานได้ตรงจุดและการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง