พระแม่คงคาร่ำไห้ AI รังสรรค์ภาพสะท้อนอีกด้านวันลอยกระทง

พระแม่คงคาร่ำไห้ AI รังสรรค์ภาพสะท้อนอีกด้านวันลอยกระทง

View icon 141
วันที่ 24 พ.ย. 2566 | 12.11 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
ภาพจาก AI สะท้อนปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม พระแม่คงคาร่ำไห้ ท่ามกลางกองกระทง เจ้าของโพสต์ยันแนวคิดนี้ไม่ได้ให้งดการจัดวันลอยกระทง แต่ต้องการสื่อสารให้ทุกคนมองเห็นปัญหา

ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Sujittra Jittreenit ได้โพสต์ภาพลงในกลุ่ม ‘AI CREATIVES THAILAND’ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ให้นำภาพศิลปะจาก การสร้างสรรค์ของ AI ทำมาโพสต์โชว์ผลงาน โดยผลงานที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กคนดังกล่าวนำมาโพสต์ เป็นภาพชุด หญิงสาวในชุดไทย กำลังร้องไห้ อยู่ในแม่น้ำที่เต็มไปด้วยกระทง เจ้าของโพสต์ระบุข้อความไว้ว่า  “เมื่อแม่คงคาตื่นมายามเช้า” พร้อมติดแฮชแท็ก #วันลอยกระทง #งดลอยกระทง #งดทิ้งขยะลงน้ำ ก่อนจะทิ้งท้ายว่า ขออภัยหากท่านใดไม่ถูกใจ

โพสต์ดังกล่าวกลายเป็นไวรัลในโลกออนไลน์ชั่วข้ามคืน เพราะ เป็นภาพสะท้อนปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม หลังจบเทศกาลลอยกระทง ซึ่งมีคนเข้ามาคอมเมนต์หลากหลายความคิดเห็น อาทิ ชื่นชมในแนวคิดของผู้โพสต์ ที่สร้างความตระหนักถึงเรื่องของขยะในแม่น้ำ ลำคลอง แต่บางส่วนก็บอกว่า เทศกาลลอยกระทง 1 ปี มีเพียงครั้งเดียว และปัจจุบันกระทง ก็เปลี่ยนมาใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้ง่าย

656031a2ec19a0.17487095.jpg

ทีมข่าวออนไลน์ 7HD ได้สอบถามไปยังคุณ สุจิตรา เจ้าของโพสต์ ถึงกระแสตอบรับ และ แนวคิดในการทำภาพ AI พระแม่คงคาร้องไห้ดังกล่าว

คุณสุจิตร บอกว่า หลังจากกระแสออกไป ตัวเองรู้สึกดีใจมาก เนื่องจากรงณรงค์เรื่องการงดการลอยกระทงมาตลอด ก่อนที่จะโพสภาพออกไปไม่ได้ตั้งใจจะทำให้สังคมเกิดการแตกแยก แต่อย่างไร  เพราะเข้าใจในมุมมองขอแต่ละคน ไม่ว่าจะด้านเศรษฐกิจ การค้า หรือวัฒนธรรม เแค่อยากใช้ภาพสื่อสารในมุมมองที่ชัดขึ้น ว่าเราควรตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมให้จริงจังหรือไม่

หลายปีแล้วที่มองเห็นการเสื่อมถอยของสภาพแวดล้อมที่มาจากกระทำของมนุษย์ ซึ่งรวมถึงตัวเราเองเช่นกัน เลยหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทีละนิดทีละหน่อยเท่าที่ทำได้ กิจกรรมลอยกระทงเองก็เช่นกัน ที่มองภาพรวมแล้วเห็นว่าธรรมชาติได้รับผลกระทบมากขึ้นทุกปี เพราะในทุก ๆ ปี จะเห็นว่าหลังจากการลอยกระทงแล้ว แหล่งน้ำ สัตว์น้ำ หรือแม้แต่แหล่งท่องเที่ยวบางจุด ก็ต้องได้รับการฟื้นฟูเพื่อให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิม โดยใช้ทั้งเวลาและกำลังคนมาดูแล

656031a3240ba9.35761412.jpg

หลายครั้งที่กิจกรรมนี้สร้างผลเสียที่ไม่สามารถเอากลับมาได้ เช่น พวกสัตว์น้ำตาย เต่ากินกระทงตายในท้องมีเข็มกลัด ปลาตายเพราะน้ำเน่าเสียเพราะลอยกันเยอะจนย่อยสหายไม่ทัน ปลากินขนมปังที่ผสมสารเคมีหรือสีเคมีเข้าไป  ถึงแม้ปัจจุบันจะมีการนำวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาสร้างสรรค์ แต่สุดท้ายมันก็คือทรัพยากรที่ถูกนำมาทิ้งโดยเสียป่าว

คุณสุจิตรา บอกอีกว่า ตนเองรณรงค์เรื่องการงดลอยกระทงมาตั้งแต่ปี 2011 แล้ว ทำมาทุกปี ตนเองไม่เคยลอยกระทงอีกเลย แนวคิดนี้ไม่ได้ต้องการให้งดการจัดเทศกาลวันลอยกระทง แต่ต้องการอยากจะสื่อสารให้ทุกคนมองเห็นปัญหาที่ได้รับเพียงแค่ 1 วันนี้ ว่าเกิดผลเสียมากแค่ไหน

การจัดงานทำได้ ถ้าหลาย ๆ ภาคส่วนคุยกันและมองเห็นปัญหา ช่วยหาทางลดการเกิดปัญหานี้ร่วมกันอย่างจริงจัง

656031a3416af4.18353132.jpg

สำหรับแรงบัลดาลใจของภาพ อยากลองมองว่าตัวเองคือพระแม่คงคาที่อาศัยอยู่ในบ้านที่เป็นแห่งน้ำอันสวยงามอยู่ปกติทุกวัน แต่วันนึงตื่นขึ้นมาพบว่า เพียงแค่ 1 คืน บ้านอันสวยงามของเรานั้นกับสกปรก น้ำดำเหม็นเน่า มีขยะลอยเต็มไปหมดจะรู้สึกเสียใจแค่ไหน เท่านั้นเอง ส่วนการสั่งการ AI ให้รังสรรค์ภาพออกมา ก็ได้เขียนแนวทางใส่ลงไปว่า หญิงสาว อยู่ในบึงน้ำ รู้สึกเศร้าเสียใจ ที่มีคนเอากระทงมาลอยในน้ำ จนทำให้เกิดขยะเน่าเสีย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง