วันเดียวเจอผู้ป่วยไขกระดูกฝ่อ 3 คน หมอเตือนยาฆ่าแมลงฉีดทุกวันเสี่ยง

วันเดียวเจอผู้ป่วยไขกระดูกฝ่อ 3 คน หมอเตือนยาฆ่าแมลงฉีดทุกวันเสี่ยง

View icon 134
วันที่ 26 ม.ค. 2567 | 12.54 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
ผู้ป่วยไขกระดูกฝ่อ วันเดียวเจอ 3 คน อจ.หมอสุรัตน์เผยผู้ป่วยโรคนี้สืบสาเหตุกว่าครึ่ง มีประวัติใช้ยาฆ่าแมลง เป็นชาวสวนหรือข้างบ้านฉีดยาฆ่าแมลง ข้อมูลการสำรวจใน จ.ขอนแก่นพบว่ายาฆ่าแมลงชนิดต่างๆ สัมพันธ์กับการเกิดไขกระดูกฝ่อ ตั้งแต่ 2-6 เท่า

โรคไขกระดูกฝ่อ วันนี้ (26 ม.ค.67) ผศ.นพ.สุรัตน์ ตันประเวช แพทย์เวชปฏิบัติทางประสาทวิทยาที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านสมองและความผิดปกติทางประสาทวิทยา เปิดเผยผ่านเพจสาระสมองกับ อจ.หมอสุรัตน์ ถึงคนไข้โรคไขกระดูกฝ่อ ตั้งแต่อายุ 20 ปี โดยอาจารย์หมอสุรัตน์ ระบุว่า ในโรงพยาบาล เราจะเจอคนไข้ อายุตั้งแต่น้อยจนถึงอายุมาก ป่วยเป็นโรคที่คิดว่า ไม่น่าเลย

อาจารย์หมอสุรัตน์ ยกตัวอย่าง คนไข้เพศหญิง อายุน้อย ระดับ 20 ปี มาโรงพยาบาลด้วยภาวะซีด เพลีย เจาะเลือดดู พบว่าเม็ดเลือดเหือดหายไปหมด ตรวจเจาะไขกระดูก พบว่า ไขกระดูกที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดหายไปเสียแล้ว เป็นโรคไขกระดูกฝ่อ

“เชื่อไหม ใน ward วันนี้ หมอเจอคนไข้ป่วยด้วยโรคไขกระดูกฝ่อ 3 คน มีตั้งแต่อายุ 20-60 ปี ต้องเติมเลือดบ่อย เสี่ยงติดเชื้อ บางคนก็หมดหวัง มันดื้อยา สืบสาเหตุกว่าครึ่ง มีประวัติ ใช้ยาฆ่าแมลง เป็นชาวสวนบ้าง หรือข้างบ้านฉีดยาฆ่าแมลงบ้าง” อาจารย์หมอสุรัตน์ระบุ

อาจารย์หมอสุรัตน์ บอกด้วยว่า จากการสำรวจใน จ.ขอนแก่นพบว่า ยาฆ่าแมลงชนิดต่างๆ สัมพันธ์กับการเกิด ไขกระดูกฝ่อ ตั้งแต่ 2-6 เท่า กว่าคนปกติ น่ากลัวจริงๆ จะกินผักสดก็กลัวยาฆ่าแมลง จะกินผักปลอดสารก็แพงกว่าเนื้อเสียอีก

ขณะที่ข้อมูล แนวทางการรักษาโรคไขกระดูกฝ่อ ของสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2563 ระบุถึงโรคไขกระดูกฝ่อ (aplastic anemia) เกิดจากการที่ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดได้น้อยทำให้ผู้ป่วยมีภาวะ pancytopenia หรือภาวะโลหิตจางที่เกิดจากความผิดปกติที่ไขกระดูก เกิดขึ้น โรคนี้พบได้ไม่บ่อย ในประเทศไทยมีอุบัติการณ์ประมาณ 3.9-5.0 ต่อประชากรล้านคนต่อปี โดยพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสูงที่สุด

พยาธิกำเนิดของโรคนี้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน ที่ผิดปกติซึ่งมีผลทำลายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในไขกระดูก สาเหตุของโรคนี้ส่วนใหญ่ไม่ทราบ บางรายอาจเกิดจากการสัมผัสสารเคมีและการใช้ยาบางชนิดเช่น สารระเหย เบนซิน ยาฆ่าแมลง ยา chloramphenicol ยาซัลฟา ฯลฯ การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น Parvovirus B19, Epstein-Barr virus , Hepatitis B virus และการได้รับรังสีในขนาดสูง

แม้ว่าโรคไขกระดูกฝ่อจะพบได้น้อยแต่ก็มีความสำคัญเนื่องจากเป็นโรคที่มีอาการรุนแรงผู้ป่วยมีอัตราตายสูง การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องและการดูแลรักษาที่เหมาะสมจะช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายจากโรคหรือทุเลาลง รวมทั้งการตระหนักถึงโรคนี้จะช่วยให้แพทย์ระมัดระวังมากขึ้นเมื่อต้องให้ยาที่อาจเป็นสาเหตุของโรคนี้ และประชาชนทั่วไปควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี และการซื้อยารับประทานเอง

การวินิจฉัยโรคไขกระดูกฝ่อ ซักประวัติการทำงานอย่างละเอียด การสัมผัสสารเคมีและกัมมันตรังสี การได้รับยาเคมีบำบัดรวมทั้งรังสีรักษา ประวัติการใช้ยาต่างๆ ประวัติโรคไขกระดูกทำงานผิดปกติของสมาชิกในครอบครัวและการตรวจร่างกายโดยละเอียดรวมทั้งการตรวจทางห้องปฏิบัติการพิเศษเพิ่มเติม เพื่อแยกภาวะอื่นที่อาจทำให้ผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจางที่เกิดจากความผิดปกติที่ไขกระดูก ร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง