ปักหมุดของดีทั่วไทย : แมงกะพรุน สินในน้ำแห่งท้องทะเล จ.สตูล ตอน 2

View icon 53
วันที่ 4 เม.ย. 2567 | 07.17 น.
สนามข่าว 7 สี
แชร์
สนามข่าว 7 สี - หลังจากวานนี้ คุณต๋อม เตชะวัฒน์ สุขรักษ์ พาลงทะเลอันดามัน จังหวัดสตูล ไปตักแมงกะพรุนลอดช่องแล้ว วันนี้ไปดูได้เต็มลำเรือไหม และนำไปทำอย่างไรบ้าง ติดตามใน "ปักหมุดของดีทั่วไทย"

หลังได้ตักแมงกะพรุนลอดช่องแล้ว ปวดทั้งแขน ทั้งหอบ เพราะแต่ละตัวใหญ่และหนักมาก 

บังแม็กซ์ นายท้ายเรือ บอกว่า แต่ละวันเลือกพิกัดตักแมงกะพรุนแตกต่างกัน เพราะบางวันลอยเต็มผิวน้ำ บางวันแทบไม่มี แต่หากเรือลำใดพบก็จะเรียกเพื่อน ๆ 

แต่ละปี ฤดูกาลตักแมงกะพรุน ต่างกัน บางปีได้ 1 เดือน บางปี 3 เดือน

ทีมงานชุดนี้ยังพากันไปตักแมงกะพรุนไกลถึงทะเลกระบี่และระนอง ทำให้มีรายได้เลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้ จนทำเป็นอาชีพหลัก

หลังออกทะเล 3-4 ชั่วโมง ได้แมงกะพรุนเต็มท้องเรือ ก็ได้เวลากลับเข้าฝั่ง

แมงกะพรุนที่ตักได้ นำไปขายที่แพ

และเมื่อถึงแพ เจ้าของเรือต้องนับจำนวนแมงกะพรุนทีละตัว โยนลงในกระชัง ซึ่งที่นี่รับซื้อตัวละ 4 บาท

วันนี้ บังแม็ก และ น้องหมาด ได้ 750 ตัว รายได้กว่า 3,000 บาท

แพที่รับซื้อแมงกะพรุนก็นำขึ้นไปบนราง ตัดลำตัว แยกขา

ลงบ่อหมักแรกใส่เกลือ เพื่อรักษาเนื้อแมงกะพรุน ใส่สารส้มให้เนื้อเหนียว และใส่โซเดียม ดับพิษ หมักแมงกะพรุนไว้ 1 คืน ย้ายไปบ่อสอง ลดส่วนผสมลง

จากนั้นย้ายไปบ่อสาม ใช้เหลือโรยตัวแมงกะพรุน รักษาสภาพเนื้อ ก่อนส่งโรงงานแปรรูปที่แม่กลอง

ขณะนี้มีชาวจีนมาเปิดล้งรับซื้อแมงกะพรุนชนิดนี้ แต่บางส่วนก็ส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้านและญี่ปุ่น

เมื่อผมเดินดูบ่อที่หมักเกิน 1 สัปดาห์ ก็เห็นสีบนลำตัวที่แตกต่างกัน

แมงกะพรุนลอดช่องที่แปรรูป ในไทยนิยมส่งเข้าร้านชาบู หมูกระทะ หรือนำไปใส่เมนูเย็นตาโฟ และทำได้อีกหลายเมนู

ข่าวที่เกี่ยวข้อง