อ.โต้ง วิเคราะห์พฤติกรรม ร้อยโท ปีนตึกสังหารแม่ค้าออนไลน์ แม้หลักฐานชี้ชัด! แต่ยังปฏิเสธ

อ.โต้ง วิเคราะห์พฤติกรรม ร้อยโท ปีนตึกสังหารแม่ค้าออนไลน์ แม้หลักฐานชี้ชัด! แต่ยังปฏิเสธ

View icon 72
วันที่ 11 เม.ย. 2567 | 13.37 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
อ.โต้ง วิเคราะห์พฤติกรรม ร้อยโท ปีนตึกสังหารแม่ค้าออนไลน์ แม้หลักฐานชี้ชัด! แต่ยังปฏิเสธ อาจเป็นความคิดของผู้ต้องหาเองที่คิดว่า ปฏิเสธ แล้วจะรอด

11 เมษายน 2567 จากกรณีทหารยศ "ร้อยโท" ผู้ต้องหาก่อเหตุฆาตรกรรมแม่ค้าออนไลน์วัย 47 ปี ภายในคอนโด ย่านรัตนาธิเบศร์ ถึงแม้ว่าล่าสุด ตำรวจจะเข้าตรวจค้นห้องร้อยโท และพบทรัพย์สินมีค่าของผู้เสียชีวิตถูกซุกอยู่ตามที่ต่างๆภายในห้อง ร้อยโทเองยังคงปฏิเสธ

ล่าสุด รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล รองอธิการบดี และประธานกรรมการคณะอาชญาวิทยาฯ ม.รังสิต หรือ อ.โต้ง วิเคราะห์พฤติกรรม กรณีร้อยโท ในรายการศจีตีคดี ทางหน้าเพจ Ch7HD News โดย อ.โต้ง เชื่อว่า คนร้ายคงเรียนรู้มาว่าการที่จะเข้าไปในห้องของเหยื่อ โดยที่ต้องการเลี่ยงการถูกจับภาพจากกล้องวงจรปิด คือ การปีนระเบียงด้านหลัง ซึ่งการปีนระเบียงด้านหลัง ถึงแม้ว่าจะมีความเสี่ยง แต่คนร้ายจะมีความชำนาญจึงเลือกใช้วิธีการนี้ เพราะวิธีนี้สามารถเลี่ยงการถูกจับภาพ โดยกล้องวงจรปิด และหลบหลีกพยานที่อาจจะมองเห็น

อย่างที่ทราบกันดี ปัจจุบันการก่ออาชญากรรมในเมืองไทย มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และในปัจจุบันมี Social Media มีการติดต่อผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ข่าวสารต่างๆผ่านออนไลน์ เชื่อว่า ผู้ก่อเหตุเองก็เช่นกัน มีการศึกษาเรียนรู้ วิธีการรูปแบบเหล่านี้ มาจากภาพยนตร์ หรือมาจากคลิปต่างๆผู้ก่อเหตุที่สนใจ ก็มีความเป็นไปได้ ซึ่งตรงนี้ตำรวจจะสามารถตรวจสอบได้ จากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของผู้ก่อเหตุ ไม่ว่าจากช่องทางของมือถือ หรือ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ จากข้อมูลของผู้ก่อเหตุรายนี้ มีความเชียวชาญทางด้านเกมออนไลน์ ซึ่งตำรวจต้องไปตามดูต่อว่า เกมที่ผู้ก่อเหตุเล่นนั้น มีเรื่องของความรุนแรงมากน้อยเพียงใด หรือ มีเรื่องเกี่ยวข้องกับเงินอยู่หรือไม่

จากการก่อเหตุ อ.โต้ง เชื่อว่า ผู้ก่อเหตุมีการวางแผน เพราะ 4 สาเหตุ คือ
1.เลือกเหยื่อที่เป็นผู้หญิง
2.เลือกช่วงเวลา
3.เลือกวิธีการ
4.รู้ว่าทำแล้ว จะสำเร็จ ซึ่งผู้ก่อเหตุก็ทำสำเร็จ แม้ว่าจะเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องและโหดร้ายทารุณ

การที่ตำรวจเข้าตรวจค้นห้องพักของผู้ต้องหา และไปพบของกลางทรัพย์สินของผู้เสียชีวิตด้วย แม้ก่อนหน้านี้ผู้ต้องหาจะปฏิเสธ แต่เมื่อพบของกลาง อีกทั้งผลตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์ ก็ชี้ชัด จึงต้องกลับไปถามผู้ต้องหาอีกครั้งว่าว่าจะยอมรับ หรือ ปฏิเสธ ส่วนที่ว่าผู้ก่อเหตุปฏิเสธในช่วงแรก อ.โต้ง มองว่า โดยปกติผู้ก่อเหตุไม่มีใครอยากถูกจับ ไม่มีใครอยากติดคุก จึงปฏิเสธไว้ก่อน เพราะการปฏิเสธ โอกาสรอดก็จะสูง ตามความเชื่อของผู้ก่อเหตุ มักจะเป็นแบบนั้น แต่การทำงานของตำรวจและผู้เชียวชาญ ด้านนิติวิทยาศาสตร์ จะอาศัยเป็นหลักฐานอย่างอื่น นอกเหนือจากคำให้การของผู้ต้องหา เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะรับสารภาพหรือปฏิเสธ พนักงานสอบสวนตำรวจหรือผู้ที่เกี่ยวข้องก็ต้องหาพยานหลักฐานอื่นๆ มาหาความเชื่อมโยงด้วย

อย่างเช่นคดีนี้ พบของกลางของผู้เสียชีวิต ซึ่งสิ่งนี้ค่อนข้างชัดเจน ทรัพย์สินของผู้เสียชีวิตจะไปอยู่ในห้องผู้ต้องหาได้อย่างไร เป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะจุดที่ซุกซ่อน ในปากของตุ๊กตาค่อนข้างชัดเจนว่า ผู้ก่อเหตุคนนี้เป็นคนนำมา ประกอบกับหากพบลายนิ้วมือตรงตุ๊กตาด้วย ยิ่งชัดเจนว่ามีการจับแล้วนำไปใส่ไว้ในนั้น ตามกฎหมายขึ้นอยู่กับผู้ต้องหาจะให้การอย่างไรก็ได้ แต่ถ้าหากหลักฐานชัดเจน โอกาสที่ศาลจะสั่งประหารชีวิตค่อนข้างสูง ปัจจุบันสถิติแนวโน้มการเกิดเหตุอาชญากรรมในไทยเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอาชญากรรมร้ายแรง จากอาวุธมีด หรือ อาวุธปืน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง