ประกาศ ปลาหมอสีคางดำ สัตว์น้ำต่างถิ่นที่สร้างความเดือดร้อนให้ NGOs เรียกร้องจัดการต้นตอ

ประกาศ ปลาหมอสีคางดำ สัตว์น้ำต่างถิ่นที่สร้างความเดือดร้อนให้ NGOs เรียกร้องจัดการต้นตอ

View icon 198
วันที่ 5 ก.ค. 2567 | 11.01 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
ปลาหมอสีคางดำ หายนะระบบนิเวศ ชาวบ้านเดือนร้อน NGOs เรียกร้องจัดการต้นตอ

จากกรณีสำนักงานประมงจังหวัดสงขลา ออกประกาศจับปลาหมอสีคางดำ สัตว์น้ำต่างถิ่นที่สร้างความเดือดร้อนให้เกษตรกร เป็นปลาที่มีลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกับปลาหมอเทศ พบได้ทั้งน้ำจืด บริเวณปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อย ป่าชายเลนและในทะเล โดยเพศผู้จะมีสีดำบริเวณหัวและบริเวณแผ่นปิดเหงือก มากกว่าเพศเมีย หากผู้ใดมีข้อมูลใด ๆเกี่ยวกับที่ที่ปลาหมอสีคางดำอาศัยอยู่ โปรดติดต่อและแจ้งสำนักงานประมงจังหวัดสงขลา หรือสำนักงานประมงอำเภอใกล้บ้าน สายด่วน 074-311-302 จนเกิดกระแสตามหาที่มาของปลาต่างถิ่นชนิดนี้
ล่าสุด (4ก.ค.67) เพจเฟซบุ๊ก ชื่อ BIOTHAI ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร (NGOs) ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เกษตรกรรมเชิงนิเวศ และความมั่นคงทางอาหาร อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ระบุว่า บริษัทเอกชนผู้นำเข้า ทราบข้อมูลทางวิชาการว่า ปลาหมอสีคางดำเป็นปลาที่มีความทนต่อโรคระบาด จึงได้ยื่นเรื่องขออนุญาตนำเข้า เมื่อปี 2549 เพื่อนำมาปรับปรุงสายพันธุ์ปลานิล จากประเทศหนึ่งในทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นประเทศต้นทางได้ใช้เวลาในการรวบรวมพันธุ์ปลาดังกล่าวถึง 3 ปี จึงสามารถนำเข้าปลาหมอสีคางดำได้เมื่อปลายปี 2553 จำนวน 2,000 ตัว  และ แม้ว่าทุกคนช่วยจับปลาหมอสีคางดำทุกตัว ก็แก้ปัญหาไม่ได้ ถ้าไม่จับตัวการที่ละเมิดหลักเกณฑ์ความปลอดภัยทางชีวภาพ

ขณะที่ ดร.สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ อดีตประธานมูลนิธิโลกสีเขียว นักนิเวศวิทยาชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ใจความสำคัญดังนี้

"ปลาหมอคางดำเป็นสุดยอดหายนะเอเลี่ยน เราเห็นกับตาที่ปากน้ำปราณบุรีว่ามันกำจัดปลาชนิดอื่นๆ เกือบหมด คือนอกจากพวกมันแล้ว เห็นแค่ปลาเข็มสองตัว หลุดเข้าไปในพื้นที่เลี้ยงสัตว์น้ำชาวบ้าน มันก็กินจนเกลี้ยง มันอมลูกอ่อนไว้ในปาก จึงรอดเยอะ มันทิ้งไข่ไว้ในดิน ต่อให้น้ำแห้งก็ไม่ตาย พอได้น้ำก็ผุดขึ้นมาดั่งซอมบี้ รัฐบาลเมินเฉย รู้ทั้งรู้ว่าใครนำเข้ามา ก็ปล่อยลอยนวลพ้นผิดอำมหิตจริงๆ"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง