รัฐบาล ยืนยัน ยังปักหลักอยู่ช่วยฟื้นฟู เพื่อคืนพื้นที่ที่ประสบภัยให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด ล่าสุดภาคกลางน้ำท่วม 6 จังหวัดแล้ว กรมชลฯทยอยปรับลดการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยาเหลือ 2,000 ลบ.
วันนี้ (11 ต.ค. 67) เวลา 10.30 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 15 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก พิษณุโลก นครสวรรค์ สุโขทัย อุดรธานี ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และนครปฐม รวม 60 อำเภอ 306 ตำบล 1,523 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 51,954 ครัวเรือน แยกเป็น
ภาคเหนือ รวม 8 จังหวัด 29 อำเภอ 104 ตำบล 519 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 13,756 ครัวเรือน
1) เชียงราย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่สาย อ.เมืองฯ อ.แม่ลาว อ.เวียงป่าเป้า อ.เวียงชัย และ อ.เชียงแสน รวม 17 ตำบล 80 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,046 ครัวเรือน อยู่ระหว่างฟื้นฟู
2) เชียงใหม่ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.สารภี อ.หางดง อ.สันป่าตอง และ อ.เมืองฯ รวม 24 ตำบล 166 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,927 ครัวเรือน อยู่ระหว่างฟื้นฟู
3) ลำพูน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเมืองฯ รวม 7 ตำบล 42 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,369 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
4) ลำปาง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอแม่พริก รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง
5) ตาก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.สามเงา และ อ.บ้านตาก รวม 7 ตำบล 47 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,542 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
6) พิษณุโลก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ อ.เมืองฯ อ.บางกระทุ่ม อ.วังทอง อ.นครไทย และ อ.วัดโบสถ์ รวม 27 ตำบล 104 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,749 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
7) สุโขทัย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.สวรรคโลก อ.ศรีสำโรง อ.เมืองฯ อ.ศรีสัชนาลัย อ.กงไกรลาศ อ.คีรีมาศ และ อ.ทุ่งเสลี่ยม รวม 19 ตำบล 77 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,053 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
8 ) นครสวรรค์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเมืองฯ รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 70 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 1 จังหวัด 2 อำเภอ 9 ตำบล 25 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 198 ครัวเรือน
1) อุดรธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ และ อ.สร้างคอม รวม 9 ตำบล 25 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 198 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
ภาคกลาง รวม 6 จังหวัด 29 อำเภอ 193 ตำบล 979 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 38,000 ครัวเรือน
1) ชัยนาท เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.มโนรมย์ อ.วัดสิงห์ และ อ.สรรพยา รวม 16 ตำบล 49 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 588 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
2) สิงห์บุรี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.อินทร์บุรี อ.เมืองฯ และ อ.พรหมบุรี รวม 4 ตำบล 14 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 526 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
3) สุพรรณบุรี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อ.เดิมบางนางบวช อ.บางปลาม้า อ.สองพี่น้อง อ.ศรีประจันต์ อ.สามชุก อ.เมืองฯ อ.อู่ทอง และ อ.ดอนเจดีย์ รวม 43 ตำบล 211 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,892 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
4) อ่างทอง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.วิเศษชัยชาญ อ.ไชโย อ.เมืองฯ และ อ.ป่าโมก รวม 20 ตำบล 66 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 997 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
5) พระนครศรีอยุธยา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.บางบาล อ.ผักไห่ อ.เสนา อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางปะอิน อ.บางไทร และ อ.บางปะหัน รวม 100 ตำบล 591 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 28,352 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
6) นครปฐม เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.นครชัยศรี อ.บางเลน และ อ.สามพราน รวม 10 ตำบล 48 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 645 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)และทุกภาคส่วนระดมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการและอุปกรณ์เครื่องจักรกล เร่งขุดตักขนย้ายดินโคลน เศษวัสดุ สิ่งปรักหักพัง พร้อมทั้งปรับเกลี่ยถนน เส้นทางสัญจร ฟื้นฟูถนนหนทาง อาคารบ้านเรือนในพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วเพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด
ด้านศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) กรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา (11 ต.ค. 67) เมื่อเวลา เวลา 07.00 น. ที่สถานี C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,310 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่งประมาณ 2.11 ม. ก่อนที่จะมาเจอกับแม่น้ำสะแกกรังไหลมาสมทบ ลงสู่เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท โดยปัจจุบันได้ปรับลดการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเหลือ 2,047 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำท้ายเขื่อนต่ำกว่าตลิ่งประมาณ 1.69 เมตร โดยในช่วงเวลา 10.00 – 12.00 น. ของวันนี้ (11 ต.ค. 67) จะทยอยปรับลดการระบายน้ำเหลือ 2,000 ลบ.ม./วินาที ก่อนจะคงอัตราดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาและพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ มีระดับน้ำลดลงในระยะต่อไป ดังนี้
-คลองโผงเผง จ.อ่างทอง , คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา แม่น้ำน้อยบริเวณ ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา
-วัดสิงห์ อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี
-อ.เมือง จ.สิงห์บุรี
-อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
-วัดไชโย อ.ไชโย จ.อ่างทอง
ทั้งนี้ กรมชลประทาน จะบริหารจัดการน้ำอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำฝน – น้ำท่า หากปริมาณน้ำและปริมาณฝนในพื้นที่ตอนบนมีแนวโน้มลดลง จะทยอยปรับลดการระบายน้ำ เพื่อลดผลกระทบของประชาชนให้มากที่สุดในระยะต่อไป