เลือกตั้ง 2566 : ยอดใช้สื่อใหม่พุ่ง ไว โดนใจ ได้เรตติง

View icon 109
วันที่ 27 มี.ค. 2566 | 12.21 น.
ห้องข่าวภาคเที่ยง
แชร์
ห้องข่าวภาคเที่ยง - ช่วงการหาเสียงถือว่าเป็นจังหวะทอง ที่แต่ละพรรคหวังปักธงตัวเลือกไว้ในใจผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เราจึงเห็นผู้สมัคร และพรรคการเมืองระดมการสื่อสารทุกช่องทาง เพื่อเข้าถึงประชาชนมากที่สุด และคอยย้ำ ๆ จนจำขึ้นใจ

อย่างแรกที่เห็นดาษเดื่อนคือหน้าผู้สมัคร ป้ายหาเสียง การแนะนำตัวผ่านหน้าจอทีวี ยิ่งตามริมถนน เสาไฟฟ้า ก็จะพบป้ายแนะนำตัว รวมถึงเวทีปราศรัย ดีเบสประชันวิสัยทัศน์ เพื่อเก็บคะแนน หวังชนะเลือกตั้ง แต่ก็ไม่ได้การันตีว่า ปราศรัยดี ป้ายหาเสียงสวย หรือมีนโยบายที่น่าสนใจ จะชนะเลือกตั้งเสมอไป

ยิ่งในยุคสื่อออนไลน์ และแอปพลิเคชัน เข้ามามีบทบาทต่อการตัดสินใจของคนในสังคมสื่อออนไลน์ จึงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง และหาเสียงสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อย่างตัวอย่างล่าสุด ที่การใช้สื่อออนไลน์ มีส่วนส่งเสริมให้คุณชัชชาติ สิทธิพันธ์ุ เป็นผู้ว่าฯ กทม. แบบสร้างสถิติชนะขาดทิ้งคู่แข่งทีเดียว

นักวิชาการ ระบุว่า การสื่อสารในช่องทางออนไลน์ปัจจุบันสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้เกือบทุกกลุ่ม แต่จะมีกลุ่มที่มีข้อจำกัด คือ กลุ่มผู้สูงอายุ หรือกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ หรือ คนที่อายุ 60 ปีขึ้นไป เพราะเป็นกลุ่มที่มาก่อนเทคโนโลยี จึงไม่คุ้นเคย กลุ่มนี้มีอยู่ประมาณ 13 ล้านคน และอีกกลุ่มที่อยู่ก้ำกึ่ง ว่าพร้อมจะเปิดรับสื่อออนไลน์หรือไม่ คือ กลุ่มเจนเอ็กซ์ คนวัยทำงานอายุ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งมีประมาณ 16 ล้านคน

การเลือกตั้งครั้งนี้ หลายพรรคการเมืองได้เพิ่มใช้แพลตฟอร์มออนไลน์หาเสียงมากขึ้นหลายเท่าตัว ทั้งพรรคและตัวผู้สมัครเอง เพราะสามารถผลิตคอนเทนต์ที่มีความเป็นตัวเองสื่อสารได้เอง ตรงถึงเป้าหมาย แถมรวดเร็ว และแถมอาจกลายเป็นไวรัลถูกแชร์ ถูกส่งต่อ และยังผลิตซ้ำได้อีก รวมถึงเห็นถึงกระแสตอบรับ หรือ วัดเรตติ้ง ความนิยม ทั้งพรรค ตัวผู้สมัครเอง และคู่แข่งได้อย่างดีจากยอดไลท์ ยอดแชร์ และคอมเมนต์

หลัก ๆ ทุกพรรคการเมือง ใช้ Page Facebook เพราะมียอดผู้ติดตามจำนวนมากอยู่แล้ว และส่วนใหญ่ผู้สมัครจะใช้ควบคู่ไปกับสื่อออนไลน์แต่ละคนมี และจะใช้ หลายแพลตฟอร์ตผสมผสานไปพร้อม ๆ กัน

เช่น แคตดิเดตผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี ของพรรคเพื่อไทยอย่าง คุณเศรษฐา ทวีสิน เน้นทวีตข้อความ และตอบกลับด้วยตัวเอง

คุณอนุทิน ชาญวีรกูล แคนดิเดตจากภูมิใจไทย เน้นใช้ Facebook ทั้งกิจกรรมพรรค ไลฟ์สไตล์ส่วนตัว โดยเป็นคนหนึ่งที่ว่างก็จะตอบกลับ และพูดคุยคนที่มาคอมเมนต์ด้วยตัวเอง

ขณะที่ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ว่าที่แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพลังประชารัฐ ที่ออกตัวว่า พูดไม่เก่ง จึงขอใช้บริการเพจ Facebook ของพรรค เพจคนใกล้ชิดโพสต์ให้เห็นกันบ่อย ๆ รวมถึง TikTok ของ คุณสกลธี ภัทรยกุล

ส่วนว่าที่แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี จากพรรครวมไทยสร้างชาติ ขณะนี้ยังใชัสื่อทางการเพื่อโชว์ผลงานในฐานะนายกรัฐมนตรี  และใช้ Page Facebook พรรคเคลื่อนไหวกิจกรรมทางการเมือง ที่พ่วงต่อกับแพตฟอร์มอื่น โดยยังไม่ได้ใช้แพตฟอร์มใด เพื่อการหาเสียงโดยตรง

แต่การใช้สื่อออนไลน์ หรือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์นี้ กกต. ก็มีระเบียบว่าด้วยวิธีการหาเสียงเลือกตั้ง สส. กำกับไว้ เพื่อไม่ให้เกิดกระทำผิด ทั้งการด่าทอ ใส่ร้ายป้ายสี หรือ จูงใจให้เกิดความเข้าใจผิด นอกจากนี้ ยังกำหนดให้้ผู้สมัครแจ้งรายละเอียดการหาเสียง ให้ ผอ.กกต. จังหวัด ทราบก่อนที่จะดำเนินการหาเสียงเลือกตั้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

อย่างไรก็ตาม รูปแบบการหาเสียง แบบการเดินเคาะประตูบ้าน หาเสียงตลาดเช้า เข้าลุยถึงชุมชน ขึ้นรถแห่ เปิดเวทีปราศรัย แจกใบปลิว ติดป้ายหาเสียง ก็ยังเป็นวิธีที่ยังใช้กันอยู่ เพราะได้ผลในแง่ของการแสดงตัวตน ความจริงใจ ใกล้ชิด ที่มัดใจผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในพื้นที่ตัวเองได้โดยตรง ไม่งงว่าแบ่งเขตแล้วผู้สมัครที่น่าเลือกนั้นเป็นใคร ผิดคนหรือไม่

เกาะติดทุกความเคลื่อนไหว เลือกตั้ง 66 #วาระคนไทย ได้ที่ www.ch7.com/election2566

ช่องทางโซเชียลมีเดีย
Facebook : www.facebook.com/Ch7HDNews
Twitter : www.twitter.com/Ch7HD
IG : www.instagram.com/ch7hd_news
TikTok : www.tiktok.com/@ch7hd_news
Youtube : www.bit.ly/youtubech7hd