เลือกตั้ง 2566 : ส่องนโยบายเกษตรพรรคการเมือง ช่วยเกษตรกรไทยพ้นบ่วงหนี้

View icon 132
วันที่ 9 เม.ย. 2566 | 04.16 น.
สนามข่าวเสาร์-อาทิตย์
แชร์
สนามข่าวเสาร์-อาทิตย์ - ขอบสนามเลือกตั้ง66 #วาระคนไทย วันนี้ ชวนตรวจสอบนโยบายด้านการเกษตรของพรรคการเมืองต่าง ๆ กันต่อ หลังมีการออกนโยบายต่าง ๆ นานา แต่จะแก้ปัญหาให้เกษตรกรได้ตรงจุดหรือไม่ โดยเฉพาะการพ้นวังวนหนี้ จะเกิดขึ้นได้จริงในยุครัฐบาลหน้าได้หรือไม่ เราไปไล่เรียงทีละประเด็นพร้อม ๆ กัน

เกษตรกรถือเป็นคนอีกกลุ่มฐานเสียงสำคัญในช่วงที่มีการเลือกตั้ง ประชาธิปไตยผลิบาน เราจึงเห็นว่า พรรคการเมืองแต่ละพรรค ต่างพากันออกนโยบายเกี่ยวข้องกับคนกลุ่มนี้หลากหลายมาตรการ ทั้งการประกันรายได้, ชาวนารับ 30,000 บาทต่อครัวเรือน, การออกโฉนดที่ดิน 1 ล้านแปลงใน 4 ปี, การปฏิรูปที่ดินคืนประชาชน 10 ล้านไร่, การแจกพันธุ์ข้าวฟรี 60 ล้านไร่, การสนับสนุนเงินเพาะปลูกข้าวและพืชเศรฐกิจไร่ละ 1,000 บาท และการแก้ปฏิวัติที่ดิน ส.ป.ก. ซึ่งทั้งหมดเป็นเพียงนโยบายบางส่วนที่เราหยิบยกขึ้นมาตรวจสอบกับประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ก็วิเคราะห์เรื่องนี้ว่า มาตรการที่พรรคการเมืองออกมา เป็นประโยชน์เฉพาะหน้าและในระยะสั้นเท่านั้น แต่ในระยะยาวยังไม่มีพรรคใดมีนโยบายออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน ดังนั้น การจะทำให้เกษตรกรที่มีอยู่ราวกว่า 8,030,000 ครัวเรือน หรือกว่า 9.2 ล้านคน

ในจำนวนนี้มีข้อมูลของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ วิจัยในหัวข้อ กับดักหนี้กับการพัฒนาเศรษฐกิจการเงินครัวเรือนฐานราก กับเกษตรกรกว่า 6 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ พบว่ากว่าร้อยละ 90 มี ภาระหนี้สินต่อครัวเรือนเฉลี่ย 450,000 บาท

และเมื่อตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังช่วงปี 2560-2562 ที่รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร แต่กลับพบว่า ครัวเรือนเกษตรกรมีกำไร จากการทำเกษตรเฉลี่ยเพียง 73,974 บาทต่อปี หรือ 202.7 บาทต่อวัน ซึ่งน้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำในปัจจุบันที่มีอัตรา 328-354 บาทต่อวัน ถ้าหากนำอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นต้นทุนค่าแรงเกษตรกร ก็จะขาดทุนในการประกอบอาชีพเกษตรกรในช่วงปีดังกล่าว จนส่งผลให้เกษตรกรในชนบทยากจนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 การจะพ้นวังวนหนี้ของเกษตรกรจึงเป็นเรื่องไกลเกินฝันทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต

เสียงสะท้อนจากประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ว่า นโยบายระยะสั้นของพรรคการเมืองต่าง ๆ ไม่ได้ตอบโจทย์ชีวิตเกษตรกรเท่าที่ควร แต่ควรมีนโยบายที่ให้ผลระยะยาว โดยเฉพาะปัญหาพื้นที่ทำกิน โดยเฉพาะที่ดิน ส.ป.ก. ซึ่งกฎเกณฑ์เดิมมีแต่ฉุดรั้งเกษตรกรไม่ให้ก้าวหน้าในอาชีพ

สอดคล้องกับนักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย วิเคราะห์นโบายด้านการเกษตร โดยเฉพาะปมการจัดสรรที่ดิน ส.ป.ก. รัฐบาลหน้าควรมีการปลดล็อกไม่จำกัดแค่ทำการเกษตร เพื่อช่วยเกษตรกรมีโอกาสลืมตาอ้าปากในอาชีพได้

อีกข้อสังเกตที่กระทุ้งไปยังนโยบายพรรคการเมือง รวมถึงรัฐบาลในอนาคต อยากฟื้นฟูชีวิตเกษตรกรไทย ไม่ใช่แค่ให้เฉพาะหน้า แต่ต้องมองอนาคตของคนกลุ่มนี้ว่าจะหลุดพ้นจากความถดถอยในสายอาชีพได้อย่างไร มากกว่าคิดแต่หวังผลคะแนนนิยมจนไม่คำนึงถึงความยั่งยืน

เกาะติดทุกความเคลื่อนไหว เลือกตั้ง 66 #วาระคนไทย ได้ที่ www.ch7.com/election2566

ช่องทางโซเชียลมีเดีย
Facebook : www.facebook.com/Ch7HDNews
Twitter : www.twitter.com/Ch7HD
IG : www.instagram.com/ch7hd_news
TikTok : www.tiktok.com/@ch7hd_news
Youtube : www.bit.ly/youtubech7hd