25 ธ.ค.นี้ จ่อเคาะคำถาม “ประชามติ” แก้รัฐธรรมนูญ พร้อมที่มา สสร. 100 คน

25 ธ.ค.นี้ จ่อเคาะคำถาม “ประชามติ” แก้รัฐธรรมนูญ พร้อมที่มา สสร. 100 คน

View icon 99
วันที่ 22 ธ.ค. 2566 | 16.12 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
ลุ้น 25 ธ.ค.นี้ เคาะคำถาม “ประชามติ” แก้รัฐธรรมนูญ ส่วนที่มา สสร. 100 คน อาจไม่ได้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด

วันนี้ (22ธ.ค.66) นายนิกร จำนง ในฐานะประธานอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้พิจารณาสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นของนิสิต นักศึกษา กลุ่มอาชีพและภาคส่วนต่าง ๆ ประชาชน 4 ภาค สมาชิกรัฐสภา และ จัดทำรายงาน เตรียมเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการฯ ชุดใหญ่ ที่มีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน ในวันที่ 25 ธ.ค.นี้ เพื่อเลือกคำถามประชามติ และ ที่มาของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยสรุปเป็นข้อเสนอ ดังนี้

- เสนอการทำประชามติ 3 ครั้ง

- เสนอแนะให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ประกอบด้วยสมาชิก 100 คน ดังนี้
     1. การเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน จังหวัดละ 1 คน (77 คน)
     2. รัฐสภาเลือกจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ จำนวน 23 คน
  • ผู้เชี่ยวชาญสาขากฎหมายมหาชน 5 คน
  • ผู้เชี่ยวชาญสาขารัฐศาสตร์ / รัฐประศาสนศาสตร์หรือสังคมศาสตร์ / เศรษฐศาสตร์  4 คน
  • ผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดินหรือการร่างรัฐธรรมนูญ ตามหลักเกณฑ์ที่ประธานรัฐสภากำหนด จำนวน 4 คน
  • รัฐสภาเลือกจากบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ หรือทำงาน หรือ เคยทำงานในองค์กรด้านเด็กและเยาวชน ด้านสตรี ด้านผู้สูงอายุ ด้านผู้พิการหรือทุพพลภาพ และ ด้านผู้มีความหลากหลายทางเพศ ด้านละ 2 คน (รวม 10 คน)
- ประเด็นคำถามประชามติ มีข้อเสนอดังนี้

    1. โดยถามคำถามเดียว :
  • แบบที่ 1 “ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์”
  •  แบบที่ 2 : “ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ”
    2. โดยถาม 2 คำถาม :
  • แบบที่ 1 คำถามที่ 1 “ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงหมวด 1 บททั่วไป และ หมวด 2 พระมหากษัตริย์” 
  • แบบที่ 1 คำถามที่ 2  “ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะให้สภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นผู้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่”
  • แบบที่ 2 คำถามที่ 1 “ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ”
  • แบบที่ 2 คำถามที่ 2 “ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะให้สภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นผู้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง