เตือนอีกครั้ง!! ภัยเงียบไข้หูดับ เพราะกินแหนมดิบ หมูดิบ เลือดดิบ เพียง 1 ปี คร่า 32 ชีวิต

เตือนอีกครั้ง!! ภัยเงียบไข้หูดับ เพราะกินแหนมดิบ หมูดิบ เลือดดิบ เพียง 1 ปี คร่า 32 ชีวิต

View icon 328
วันที่ 4 ม.ค. 2567 | 18.37 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
สำนักงานป้องกันควบคุมโรค เตือนกินแหนมดิบ หมูดิบ เลือดดิบ เสี่ยงไข้หูดับ 1 ปี คร่า 32 ชีวิต

4 ม.ค. 67 นายแพทย์ทวีชัย วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา กล่าวถึงโรคไช้หูดับว่า เกิดจากการกินเนื้อหมูหรือเลือดหมูสุกๆ ดิบๆ เช่น ลาบหมูดิบ ลาบเลือดดิบ ที่มีเชื้อสเตปโตค็อกคัส ชูอิส (Streptococcus suis) ปนเปื้อนอยู่ โดยเชื้อนี้จะอยู่ในทางเดินหายใจของหมู และอยู่ในเลือดของหมูที่ติดเชื้อนอกจากนี้โรคไข้หูดับสามารถติดต่อผ่านทางบาดแผล รอยถลอก และทางเยื่อบุตา เมื่อได้รับเชื้อโรคไข้หูดับเข้าไปแล้ว ทำให้ผู้ติดเชื้อมีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ หนาวสั่น สับสนกระสับกระส่าย ปวดข้อ คอแข็ง หูหนวกหรือการได้ยินลดลงอย่างเฉียบพลัน การทรงตัวผิดปกติ หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดต่ำ มีจ้ำเลือดทั่วตัว ปวดตา ตาแดง หรือมองภาพไม่ชัด

สถานการณ์โรคไข้หูดับในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 16 ธันวาคม 2566 มีผู้ป่วยโรคไข้หูดับ 502 ราย มีผู้เสียชีวิต 32 รายที่
จ.แม่ฮ่องสอน 1 ราย
จ.น่าน 1 ราย
จ. สุโขทัย 1 ราย
จ.ตาก 4 ราย
จ.อุตรดิตถ์ 2 ราย
จ.กำแพงเพชร 1 ราย
จ. พิจิตร 1 ราย
จ.อุทัยธานี 2 ราย
จ.นครปฐม 1 ราย
จ.สมุทรสาคร 1 ราย 
จ.มหาสารคาม 5 ราย
จ.หน่องคาย 2 ราย
จ.นครราชสีมา 5 ราย
จ. ชัยภูมิ 1 ราย
จ.บุรีรัมย์ 1 ราย
จ.สุรินทร์ 1 ราย
จ.สงขลา 1 ราย และกรุงเทพ 1 ราย

สถานการณ์โรคหูดับ ในเขตสุขภาพที่ 9 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 25 ธันวาคม 2566 พบผู้ป่วยโรคไข้หูดับจำนวน 137 ราย มีผู้เสียชีวิต 8 ราย ผู้ป่วยแยกเป็นรายจังหวัด ดังนี้ 1) จังหวัดนกรราชสีมา มีผู้ป่วย 99 ราย เสียชีวิต 5 ราย
2) จังหรัดสุรินทร์ มีผู้ป่วย 15 ราย เสียชีวิต 1 ราย
3) จังหวัดชัยภูมิ มีผู้ป่วย 14 ราย เสียชีวิต 1 ราย
4) จังหวัดบุรีรัมย์ มีผู้ป่วย 9 ราย เสียชีวิต 1 ราย อาชีพที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือ รับจ้าง ร้อยละ 32.12 รองลงมาคือ เกษตรกร ร้อยละ 31.39 และทำงานบ้าน ร้อยละ 19.60 ตามลำดับ กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือ กลุ่มอายุ 65 ปี ขึ้นไป รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 55 - 64 ปี และกลุ่มอายุ 45 - 54 ปี ตามลำดับ

นายแพทย์ทวีชัย วิษณุโยธิน กล่าวต่อไปว่า ในปัจจุบันมีกระแสสังคมบนสื่อออนไลน์ได้รีวิวการรับประ ทานอาหารดิบ และมีพฤติกรรมการดื่มสุราร่วมกับการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ มีผู้ติดตามรับชมจำนวนมาก อาจทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ หรืออยากลองทำตาม ทำให้เสียงติดเชื้อโรคไข้หูดับได้ เพื่อเป็นการป้องกันโรคไข้หูดับ ขอให้ระชาชนรับประทานหมูอย่างถูกวิธี ดังนี้
1.รับประทานเนื้อหมู หรือเลือดหมูที่ปรุงสุกเท่านั้น โดยปรุงให้สุกผ่านความร้อนมากกว่า 70 องศาเซลเซียส นานอย่างน้อย 10 นาที
2.อาหารปิ้งย่าง ควรใช้อุปกรณ์ในการคีบเนื้อหมูดิบและเนื้อหมูสุกแยกจากกัน และขอให้ยืดหลัก "สุก ร้อน สะอาด"
3.ไม่ควรรับประทานหมูดิบร่วมกับการดื่มสุรา
4.เลือกซื้อเนื้อหมูจากแหล่งที่มีมาตรฐาน เชื่อถือได้ ไม่ควรซื้อจากแหล่งที่ไม่ทราบที่มาของหมู
5.ผู้ที่สัมผัสกับหมูที่ติดโรด โดยเฉพาะผู้เลี้ยงหมู ผู้ที่ทำงานในโรงฆ่สัตว์ ผู้ชำแหละเนื้อหมู สัตวบาล สัตวแพทย์ ควรสวมรองเท้าบูทยางสวมถุงมือ รวมถึงสวมเสื้อที่รัดกุมระหว่างทำงาน หากมีบาดแผลต้องปิดแผลให้มิดชิด และล้างมือหลังสัมผัสกับหมูทุกครั้ง หากมีข้อสงสัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบกุมโรค โทร.1422

ข่าวที่เกี่ยวข้อง