แมวมีผลอย่างไรกับสมอง ลูบขนลดอาการป่วยซึมเศร้า

แมวมีผลอย่างไรกับสมอง ลูบขนลดอาการป่วยซึมเศร้า

View icon 268
วันที่ 18 พ.ค. 2567 | 18.16 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
แมวมีผลอย่างไรกับสมอง ทำไมคนยอมตกเป็นทาสแมว หมอประชาอธิบายเหตุผลจากสมอง ลูบขนนุ่มนิ่มต่อมใต้สมองหลั่งสาร ออกซิโตซิน เป็นสารแห่งความสุขของสายสัมพันธ์ที่อบอุ่น ปลอดภัย ในการทางแพทย์สัตว์เลี้ยงมีขนช่วยลดอาการป่วยซึมเศร้า

แมวรักษาอาการซึมเศร้า นายแพทย์ประชา กัญญาประสิทธิ์ แพทย์เชี่ยวชาญด้าน ศัลยกรรมประสาท เปิดเผยผ่านเพจหมอผ่าตัดสมอง ถึงน้องแมวสัตว์เลี้ยงมีขน ว่าแมวมีผลอย่างไรต่อสมอง ทำไมคนถึงตกเป็นทาสแมว โดยอธิบายว่า แมวเป็นเพื่อนแท้ ตอนที่คุณไม่มีใคร การสัมผัสขนอันนุ่มนวล ทำให้ต่อมสมองส่วนหลัง หลั่งสารสื่อประสาท ชื่อ “ออกซิโตซิน (Oxytocin)” คนรู้สึกอบอุ่นถึงสายสัมพันธ์ รู้สึกปลอดภัย เพราะฉะนั้นคนที่เป็นซึมเศร้า มีอารมณ์ลบ เหงา หรือทุกข์ใจ สามารถหาความสุขง่ายๆ ได้จากการเลี้ยงสัตว์ที่มีขน โดยเฉพาะแมวที่มีนิสัยขี้อ้อน

เป็นเหตุผลอธิบายได้จากสมอง สารนี้สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง หลัก ๆ สารนี้สร้างมาตอนแม่ให้นมลูก เป็นสารแห่งความสุขของสายสัมพันธ์จากแม่สู่ลูก จะรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย ความสุขจากความรัก เพราะฉะนั้นแมวจึงเป็นสัตว์เลี้ยง ที่ทำให้คนติด กลายเป็นทาสแมวได้ง่าย จากความรู้สึกของสายสัมพันธ์ที่อบอุ่นและปลอดภัยที่ได้เป็นทาสแมว ในทางการแพทย์แมวช่วยลดอาการของคนเป็นโรคซึมเศร้าได้ เพราะคนซึมเศร้ามักขาดความรัก ขาดความอบอุ่น ซึ่งแมวให้ได้จากการลูบขน

โพสต์นี้ของหมอประชา มีคนเข้ามาคอมเมนต์ยอมรับว่าเลี้ยงแมวแล้วได้ผลมาก และมีคอมเมนต์เข้าแซวด้วยว่า มีเพื่อนเป็นซึมเศร้า หมอแนะนำให้เลี้ยงสัตว์ จึงนำแมวมาเลี้ยงได้ผลจริง ๆ เดี๋ยวนี้ไม่เป็นซึมเศร้าแล้ว แต่เป็นโรคประสาทแทน เพราะแมวซนมาก ๆ