วันนี้มีอะไร : 1 พฤษภาคม "วันแรงงานแห่งชาติ"

View icon 149
วันที่ 1 พ.ค. 2566 | 06.09 น.
เช้านี้ที่หมอชิต
แชร์
เช้านี้ที่หมอชิต - สถานการณ์เศรษฐกิจแรงงานในบ้านเรายังน่าเป็นห่วง เพราะค่าจ้างขั้นต่ำ ไม่สามารถเลี้ยงดูแรงงานให้มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีได้ รวมถึงที่ผ่านมาแรงงานไทยต้องพึ่งพารายได้จากการทำงานล่วงเวลาหรือโอที แต่เมื่อเกิดวิกฤติโควิด-19 แรงงานในหลาย ๆ อุตสาหกรรมประสบปัญหาเวลาการทำงานลดลง เงินโอทีน้อยลง หรือแทบไม่มีเลย  

ดังนั้น วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี จึงถูกยกให้เป็นวันแรงงานแห่งชาติ มีความสำคัญอย่างไร รวมถึงมีกฎหมายสิทธิแรงงานอะไรที่ควรรู้ ไปติดตามในวันนี้มีอะไร

ทุกวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันแรงงานแห่งชาติ ซึ่งมีผลมาจากการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงานทั่วโลก เพื่อเตือนใจให้ประชาชนตระหนัก ถึงผู้ใช้แรงงานที่ได้ทำประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศ  

ย้อนจุดเริ่มต้นวันแรงงานของไทย ตั้งแต่ปี 2475 เริ่มมีการบริหารจัดการแรงงาน หลังอุตสาหกรรมขยายตัว ปี 2499 คณะกรรมการการจัดงานที่ระลึก กำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันที่ระลึกแรงงานไทย

จากนั้นมีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้วันที่ 1 พฤษภาคมเป็น วันกรรมกรแห่งชาติ ก่อนจะเปลี่ยนเป็น "วันแรงงานแห่งชาติ" และปี 2500 ประกาศใช้ พ.ร.บ. กำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน ซึ่งกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิ์หยุดงานในวันแรงงานแห่งชาติ ซึ่งพ.ร.บ.มีอายุเพียงแค่ 18 เดือนก็ถูกยกเลิกไป

กระทั่งปี  2517 มอบให้กรมแรงงานจัดงานฉลองวันแรงงานแห่งชาติ วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 ประกาศราชกิจจานุเบกษา จัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เพื่อให้การบริหารงานมีความทัดเทียมกับนานาประเทศ รวมถึงมีการจัดตั้งสภาองค์การลูกจ้างขึ้น ส่วนวันลา สามารถลาป่วย ลากิจ ลารับราชการทหาร หรือลาคลอดบุตร ล่าสุดลาได้ถึง 98 วันจากเดิม 90 วัน และสุดท้ายกรณีถูกเลิกจ้าง ต้องได้รับเงินชดเชยตามอายุงาน ทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิให้กับผู้ใช้แรงงาน มี 3 สภา ได้แก่ สภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย, สภาองค์การลูกจ้างแห่งประเทศไทย และสภาองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย

รู้หรือไม่ว่า พวกเรามีกฎหมายคุ้มครองสิทธิแรงงาน อาทิ เวลาทำงานต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน, เวลาพักต้องไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน หรือวันหยุด ก็มีทั้งวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณีและวันหยุดพักผ่อนประจำปี กรณีลูกจ้างทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุด ก็จะได้เงินชดเชย หรือต้องทำรวม ไม่เกิน 36 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

ส่วนวันลา สามารถลาป่วย, ลากิจ, ลารับราชการทหาร หรือลาคลอดบุตร ล่าสุดลาได้ถึง 98 วันจากเดิม 90 วัน และสุดท้ายกรณีถูกเลิกจ้างต้องได้รับเงินชดเชยตามอายุงาน 

สาวโรงงานอย่างกมลาสน์ วันหยุดก็ถูกบังคับให้มาทำงานอีก ไม่ได้การละ เพราะตามกฏหมาย นางจ้างจะมีความผิดโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 100,000 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง