วิษณุ ชี้ จะเสนอชื่อแคนนิเดตนายกรัฐมนตรี ที่ ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้หยุดปฎิบัติหน้าที่ ให้สภาฯโหวตเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่ได้ เพราะผู้ที่เสนอทูลเกล้าฯชื่อมีปัญหาต้องรับผิดชอบ .

วิษณุ ชี้ จะเสนอชื่อแคนนิเดตนายกรัฐมนตรี ที่ ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้หยุดปฎิบัติหน้าที่ ให้สภาฯโหวตเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่ได้ เพราะผู้ที่เสนอทูลเกล้าฯชื่อมีปัญหาต้องรับผิดชอบ .

View icon 292
วันที่ 13 มิ.ย. 2566 | 17.03 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
วิษณุ ชี้ จะเสนอชื่อแคนนิเดตนายกรัฐมนตรี ที่ ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้หยุดปฎิบัติหน้าที่ ให้สภาฯโหวตเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่ได้ เพราะผู้ที่เสนอทูลเกล้าฯชื่อมีปัญหาต้องรับผิดชอบ
.

วันนี้ (13 มิ.ย.66) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ตอบคำถามผู้สื่อข่าว กรณีหากนักการเมืองคนใดถูกฟ้องร้องดำเนินคดีแล้วได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะสามารถนำรายชื่อดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯได้หรือไม่ ว่า ปกติการจะแต่งตั้งตำแหน่งใดก็ตามเป็นพระราชอำนาจ กรณีแต่งตั้งข้าราชการประจำ ผู้พิพากษา อัยการ อธิบดี หรือการขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ได้มีข้อตกลงกับสำนักพระราชวังมา 2-3 ปีแล้วให้ตรวจเข้มงวดกวดขัน ถ้ามีก็ให้กราบบังคมทูลขึ้นไปว่ามีเหตุอย่างนี้อยู่ ส่วนจะโปรดเกล้าฯอย่างไรก็แล้วแต่ คำตอบนี้เป็นคำตอบเดียวกัน
.
ผู้สื่อข่าวถามว่าการทูลเกล้าฯชื่อนายกรัฐมนตรีก็ใช้หลักการนี้ใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า “ใช่ครับ” เรื่องโปรดเกล้าฯเป็นพระราชอำนาจ เราไม่ต้องไปสงสัยอะไรแล้ว แต่เราต้องกราบบังคมทูลขึ้นไปว่าเกิดอะไรขึ้น และผู้ที่รับผิดชอบหากมีอะไรเกิดขึ้นคือผู้รับสนองพระราชโองการ กรณีเสนอชื่อนายกฯก็คือประธานรัฐสภา การรับสนองคือการรับผิดชอบแทน เพราะสิ่งที่ทูลเกล้าฯไปต้องเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ตรวจสอบเรียบร้อยแล้วก็ต้องรับผิดชอบอย่างนั้น เหมือนกับสมัยก่อนที่โหวต พล.อ.อ.สมบูรณ์ ระหงส์ เป็นนายกฯ แต่ นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานรัฐสภาสมัยนั้นไปเสนอชื่อ นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกฯ นายอาทิตย์ก็รับผิดชอบไป ฉะนั้น ประธานรัฐสภาก็ต้องดูแลให้ถูกต้องให้ดี ถ้าจะเบรกอะไรก็เบรกในชั้นประธานรัฐสภา
.
นายวิษณุ ย้ำว่า แม้คดีจะยังอยู่ระหว่างการพิจารณา ยังไม่มีคำตัดสินออกมา ก็ไม่สามารถนำรายชื่อนั้นไปโหวตนายกรัฐมนตรีได้ เพราะเมื่อถูกสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่แล้ว ก็เข้าไปทำหน้าที่ไม่ได้
แต่ปกติศาลจะไม่สั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่เร็วเกินไป ต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร
.
เมื่อถามว่าการจะไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าบุคคลใดมีลักษณะต้องห้ามจะใช้กฎหมายใด นายวิษณุ กล่าวว่า ใช้รัฐธรรมนูญ มาตรา 82 ผู้ที่ร้องได้คือ สส.จำนวน 1 ใน 10 ของสภา หรือ 50 คน ซึ่ง สส.จะยื่นได้หลังมีการถวายสัตย์ปฏิญาณตนเรียบร้อยแล้วถึงจะทำหน้าที่ได้ ส่วน สว.จำนวน 1 ใน 10 หรือ 25 คน เพราะ สว.สามารถลงชื่อ เพื่อตรวจสอบ สส.และ สว. รวมถึงรัฐมนตรีได้ โดยยื่นผ่านประธานรัฐสภา เมื่อมีการเลือกกันแล้ว และอีกช่องทางหนึ่งคือ กกต.เป็นผู้ยื่น

ส่วนการที่ กกต.จะฟ้องใครด้วยความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง สส.มาตรา 151 จะฟ้องช่องทางใด นายวิษณุ กล่าวว่า ตามมาตราดังกล่าวต้องไปช่องทางศาลอาญาและไม่มีขั้นตอนการสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ แต่มาตรา 151 เป็นที่มาของทุกเรื่อง ถูกต้องแล้วที่ไม่รับเรื่องอื่น เพราะเมื่อมาตรา 151 ออกมาแล้วคุมหมดทุกอย่าง แต่กระบวนการนี้ใช้เวลานาน เพราะใช้กระบวนการยุติธรรมปกติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง