“โสดแบบไม่ตั้งใจ” ครองแชมป์สาเหตุหลัก ทำเด็กไทยลดจำนวนลง

“โสดแบบไม่ตั้งใจ” ครองแชมป์สาเหตุหลัก ทำเด็กไทยลดจำนวนลง

View icon 79
วันที่ 11 ธ.ค. 2566 | 11.38 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
“กรมอนามัย” เปิด 4 เหตุผลหลัก ทำอัตราการเกิดเด็กไทยลดลง ตามดาด “โสดแบบไม่ตั้งใจ” ครองแชมป์อันดับ 1

วันนี้ (11ธ.ค.66) กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผย 4 เหตุผลที่ทำให้เด็กไทยมีจำนวนน้อยลง ผ่านเฟซบุ๊ก ดังนี้

1. ความโสด “ยังโสด อยู่ทางนี้จ้า” คนโสดแบบไม่ได้ตั้งใจกว่า 63.31% คือคำตอบสำคัญ เพราะไม่ใช่ทุกคนจะได้เจอคนที่ใช่
บางคนอยู่ในช่วงกำลังเรียนรู้ หรือยังไม่ถึงอายุที่วางแผนไว้ หรือยังไม่พร้อม

2. ไม่อยากมีลูก หลากหลายเหตุผลที่มารองรับ ทำให้คู่รักหลาย ๆ คู่ยังไม่พร้อมต่อการมีลูก เช่น เศรษฐกิจและสังคม ค่าใช้จ่าย ชีวิตอิสระ หน้าที่การงาน หรือกลุ่มท้องไม่พร้อม แต่ข้อสังเกตสำคัญ คือมีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้นที่มีปัญหาสุขภาพ แต่อีก 90% ที่เต็มไปด้วยปัญหาทางสังคม ตัวเลขเหล่านี้ล้วนบอกว่าในสังคนที่มีปัจจัยแปรเปลี่ยนในชีวิตหลายอย่าง คือเหตุผลสำคัญที่ทำให้สามี-ภรรยา ไม่อยากมีลูก

3. มีบุตรยาก เหตุผลด้านสุขภาพเป็นเรื่องที่เหนือการควบคุม เพราะคู่สมรส ร้อยละ 10 -15 ประสบภาวะมีบุตรยาก
แม้ตั้งใจอย่างเต็มที่ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเจ้าตัวน้อยจากสวรรค์จะมาให้พรกับชีวิตของคุณพ่อคุณแม่เสมอไป

4. อยากมีแต่ไม่สามารถเข้าถึงบริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ได้ เจ็บปวดที่สุดก็เหตุผลนี้ คือมีความตั้งใจดีที่จะมีบุตร แต่ไม่สามารถเข้าถึงบริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ได้ หรือ กลุ่ม LGBTQA+ ที่อยากมีบุตรมาก และ ติดปัญหาด้านกายภาพนั่นเอง
.
6576962ef2b455.29566522.jpg
.
กรมอนามัย ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติม โดยคาดการณ์ว่า ใน 60 ปีข้างหน้า หรือในปี 2626 จำนวนประชากรไทยจะลดลง จาก 66 ล้านคน เหลือเพียง 33 ล้านคน และ อาจส่งผลกระทบต่อประชากรวัยทำงานในอนาคต โดยแบ่งตามจำนวนประชากรได้ดังนี้
- วัยทำงาน (ช่วงอายุ 15 ถึง 64 ปี) จะลดลงจาก 46 ล้านคน เหลือเพียง 14 ล้านคน
- วัยเด็ก (ช่วงอายุ 0 ถึง 14) จะลดลงจาก 10 ล้านคน ในเหลือเพียง 1 ล้านคน
- สูงวัย (65+) เพิ่มขึ้นจาก 8 ล้านคน ไปเป็น 18 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 50 ของประชากรทั้งประเทศ
.
6576962f549fe0.60184364.jpg
.
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข จึงเร่งผลักดันให้การส่งเสริมการมีบุตรเป็น “วาระแห่งชาติ” เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยพิจารณาหลากหลายมาตรการร่วมกัน เช่น
1. ยังไม่มีคู่ (โสดแบบไม่ตั้งใจ)
- เพิ่มช่องทางการสร้างสัมพันธ์ที่ปลอดภัย
- จัดกิจกรรมสร้างสรรค์

2. ไม่อยากมีลูก (สวัสดิการที่ดี)
- สถานรับเลี้ยงเด็กคุณภาพ (ของรัฐ)
- เงินช่วยเหลือค่าเลี้ยงดูบุตร
- มาตรการลดหย่อนภาษีค่าใช้จ่ายบุตร
- การให้คำปรึกษาทางเลือก
- สถานที่ทำงานเป็นมิตรกับครอบครัว

3. มีบุตรยาก (การจัดบริการรักษา ภาวะมีบุตรยาก)
- เพิ่มจำนวนคลินิกรักษาภาวะมีบุตรยากภาครัฐทุกจังหวัด
- ให้เป็นสิทธิประโยชน์ใน 3 กองทุน
- สิทธิการลา เพื่อเข้ารับการรักษา

4. อยากมี แต่มีไม่ได้ (ปรับปรุง แก้ไขกฏหมาย ระเบียบ)
- พ.ร.บ. อุ้มบุญ
- สนับสนุนร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม
.
6576962fc8b872.39414008.jpg
.
657696304b4040.01561438.jpg
.